ทำไมต้องใช้ UPS
เพราะความไม่แน่นอนของกระแสไฟฟ้าที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ แหล่งพลังงานที่สำคัญสำหรับอุปกรณ์ไอทีต่างๆในปัจจุบัน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่แหล่งพลังงานไฟฟ้าต้องมีเสถียรภาพและต่อเนื่อง แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นไปไม่ได้เลยที่แหล่งพลังงานไฟฟ้าจะมีเสถียรภาพต่อเนื่องเสมอไป ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาทั้งนี้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและสถานที่ใช้งาน
UPS (Uninterruptible Power Supply) ก็คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่สามารถทำการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างต่อเนื่อง แม้ในเวลาที่เกิดไฟฟ้าดับหรือเกิดปัญหาแรงดันไฟฟ้าผันผวนผิดปกติ โดย UPS จะทำการปรับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่ออุปกรณ์ไฟ้าฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ชนิดของ UPS สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
๑.) Offline UPS หรือ Standby UPS จะใช้ไฟตรงจากเต้าไฟฟ้า เมื่อมีเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ ระบบจะ Switch ไปใช้ไฟฟ้าจาก Battery
ข้อดี : ราคาถูก ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา, ออกแบบง่าย ไม่ซับซ้อน, สามารถป้องกันปัญหาไฟดับได้เพียงอย่างเดียว และอายุการใช้งานของแบตเตอรี่และ UPS สั้น
ข้อเสีย : ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางไฟฟ้า เช่น ไฟตก - ไฟเกินได้ และเมื่อมีความผิดปกติทางไฟฟ้าผ่านเข้าไปยัง UPS จะผ่านไปให้กับ Load ทันที ทำให้ Load เสียหายได้
๒.) Line Interactive UPS with Stabilizer หรือ Online Protection UPS รุ่นนี้จะเพิ่มวงจรของระบบ Stabilzer เพื่อทำให้กระแสไฟนิ่งมากขึ้น ทนต่อไฟกระชาก หรือไฟตก และหากเกิดไฟดับขึ้นก็จะสลับไปใช้ไฟจาก Battery ด้วยวงจรที่ค่อนข้างเร็ว
ข้อดี : มีระบบปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ (Stabilizer / AVR) เพื่อป้องกันปัญหาไฟเกินและไฟตก และราคาเหมาะสำหรับการใช้งานทั่วๆ ไป มีขนาดกระทัดรัด น้ำหนักเบา
ข้อเสีย : ไม่สามารถแก้ปัญหาความผิดพลาดทางด้านความถี่ได้ และไม่เหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่มีความไวต่อคุณภาพของกระแสไฟฟ้ามากๆ เช่น เครื่องมือแพทย์/เครื่องจักร
๓.)True On-line UPS คือ ไฟฟ้าที่จ่ายให้กับอุปกรณ์จะมาจาก Battery โดยตรง เรียกได้ว่า ไฟตก กระชาก ดับ ไม่มีผลต่อ UPS และอุปกรณ์ที่ต่อกับมันเลยแม้แต่น้อย
ข้อดี : สามารถแก้ปัญหาทางไฟฟ้าได้ทุกกรณี และมีความเชื่อถือได้สูง, อุปกรณ์ไฟฟ้า (Load) จะได้รับพลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง โดยไม่หยุดชะงัก, สามารถผลิต UPS ได้ทุกขนาด และสามารถตรวจเช็คเครื่อง UPS ได้โดยไม่ต้องปิดอุปกรณ์ต่อพ่วง (Load)
ข้อเสีย : การออกแบบยุ่งยาก และซับซ้อนมาก, มีขนาดใหญ่ และน้ำหนักมาก และมีราคาที่สูง
หน้าที่หลัก UPS
ป้องกันความเสียหายที่สามารถเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์(โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อ)อันมีสาเหตุจากความผิดปกติของพลังงานไฟฟ้า เช่น ไฟตก,ไฟดับ,ไฟกระชาก และไฟเกิน เป็นต้น รวมถึงมีหน้าที่ในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองจากแบตเตอรี่ให้แก่อุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเกิดปัญหาทางไฟฟ้า
การเลือกซื้อเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS)
สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ การเลือกขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งมีขั้นตอนการคำนวณดังต่อไปนี้
๑. เลือกอุปกรณ์ทั้งหมดที่ต้องการป้องกันด้วยเครื่องสำรองไฟฟ้า
๒.ดูรายละเอียดว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้กำลังไฟฟ้าเท่าไหร่ (ดูที่ฉลากหลังเครื่อง หรือคู่มือ)
๓.ค่ากำลังไฟฟ้าของแต่ละอุปกรณ์จะต้องเปลี่ยนเป็น โวลต์-แอมป์ เพื่อทำให้สามารถรวมเข้าเป็นหน่วยเดียวกัน
๔.เมื่อได้ค่ากำลังไฟฟ้าทั้งหมดเป็นโวลต์-แอมป์ คุณก็สามารถเลือกขนาดเครื่องสำรองไฟได้ โดยดูได้จากขนาดVA ที่ตัวเครื่อง UPS โดยปกติจะสำรองไฟได้ประมาณ 5 นาที หากต้องการให้ระยะเวลาสำรองนานขึ้น ทำได้โดย เลือกเครื่องสำรองไฟฟ้าที่มีขนาด VA ใหญ่ขึ้นและเลือกเครื่องสำรองไฟฟ้าที่สามารถต่อแบตเตอรี่เพิ่มเติมได้ภายนอก