วิธีหาความเร็ว ขนาด และประเภทของแรม
Please wait...
SOLUTIONS CORNER
วิธีหาความเร็ว ขนาด และประเภทของแรม

วิธีหาความเร็ว ขนาด และประเภทของแรม

แรม
Image credit: twenty20

หากคุณต้องการอัพเกรดหน่วยความจำของ PC คุณจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าคุณมีอะไรอยู่แล้วบ้าง
 
หากไม่มีหน่วยความจำชีวิตคุณคงยุ่งเหยิงไม่น้อย ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับแล็ปท็อปของคุณ เนื่องจากในปัจจุบันเรามีการทำงานจากระยะไกลมากขึ้นเรื่อยๆ และอุปกรณ์ของเราก็ไม่เคยอยู่ภายใต้สภาวะงานที่หนักหน่วงเท่านี้มาก่อน จึงเป็นเหตุผลที่ว่าแล็ปท็อปของคุณนั้นต้องมีแรมในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อภาระงานที่แล็ปท็อปของคุณจะต้องเจอ 
 
Random Access Memory หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า 'RAM' เป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์และมักจะมาในรูปแบบของแท่งแบบถอดได้ ซึ่งคุณสามารถพบมันได้ในเมนบอร์ด
 
สิ่งนี้มักถูกสับสนกันกับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลทั่วไป แต่มีวิธีง่ายๆ ในการอธิบายความแตกต่างและบทบาทเฉพาะของ RAM โดยใช้การเปรียบเทียบที่เห็นได้ชัด
 

What is RAM? 'แรม' คืออะไร?


ทางที่ดีที่สุดคือคิดว่าหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ของคอมพิวเตอร์ของคุณเป็นสมอง และในทำนองเดียวกันให้คิดว่าอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดไดรฟ์หรือ SSD เป็นส่วนที่ควบคุมหน่วยความจำระยะยาว
 
ในส่วนนี้สามารถอธิบาย แรม ได้ดีที่สุดว่าเป็นส่วนหน่วยความจำระยะสั้นของระบบ ซึ่งหากอยู่ในสมอง สิ่งนี้จะเป็นส่วนที่จัดการกับงานประจำวันที่ง่ายต่อการจดจำ ไม่ว่าจะเป็นการกิน, การนอน, การหายใจ หรือ กระบวนการทั้งหมดที่ต้องใช้ข้อมูลเชิงบริบทซึ่งสามารถลืมได้อย่างรวดเร็วเมื่องานจบลง ซึ่งในคอมพิวเตอร์ส่วนนี้คือ แรม โดยมันยังอนุญาตให้มี "headspace" มากขึ้นได้ ดังนั้นหากพูดง่ายๆ คือ แรมจะให้ข้อมูลบริบทชั่วคราวที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว
 
ยิ่งคุณมี แรม มากเท่าไหร่ก็ยิ่งสามารถใช้พื้นที่สำหรับข้อมูลนี้ได้มากขึ้นและสามารถรองรับแอปพลิเคชันและกระบวนการต่างๆ ได้มากขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โชคดีที่เดสก์ท็อปสมัยใหม่ส่วนใหญ่และแล็ปท็อประดับสูงอนุญาตให้อัปเกรดแรมได้ แต่ในทางกลับกันก็มักจะทำให้ระบบเสื่อมอายุเช่นกัน
 

ต้องมี แรม เท่าไหร่?

 

น่าเสียดายที่การซื้อ แรม อาจยุ่งยากเล็กน้อยหากคุณไม่แน่ใจว่ากำลังทำอะไรอยู่ เนื่องจาก แรม มีหลายรูปทรง, ความเร็ว และขนาด และแม้ว่าแท่งแรมจะพอดีกับเครื่องของคุณแต่ก็มีโอกาสที่จะใช้งานไม่ได้เช่นกัน
 
Windows 10 ให้ข้อมูลที่จำกัดมากในเรื่องนี้ หากต้องการรู้เกี่ยวกับสิ่งนี้คุณต้องการเปิดส่วน "เกี่ยวกับ" ของแผงควบคุม ซึ่งทำได้โดยพิมพ์ "RAM" ในแถบค้นหาของ Windows 10 แล้วคลิก "ดูข้อมูล RAM" หรือโดยการเข้าไปที่การตั้งค่า "ระบบ" และเลื่อนลงไปที่ "เกี่ยวกับ"
 
ในหน้า เกี่ยวกับ คุณจะเห็นข้อมูลเกี่ยวกับชื่ออุปกรณ์, ประเภทตัวประมวลผล และความเร็วแรมที่ติดตั้งอุปกรณ์และรหัสผลิตภัณฑ์ว่ามันใช้ระบบปฏิบัติการ 32 บิตหรือ 64 บิต และข้อมูลเบ็ดเตล็ดอื่นๆ
 
คุณจะสังเกตเห็นว่าแรมที่ติดตั้งแสดงตัวเลขสองตัว เลขลำดับแรกคือจำนวนแรมทั้งหมดที่ติดตั้งในระบบ และตัวที่สองจะแสดงแรมที่ "ใช้งานได้" ซึ่งจะระบุว่าแอปและกระบวนการของคุณสามารถใช้แรมได้เท่าใดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งตัวเลขหลังจะต่ำกว่าเนื่องจากสัดส่วนของแรมที่ติดตั้งจะถูกสงวนไว้สำหรับกระบวนการที่สำคัญบางอย่างของ Windows
 
ด้วยวิธีที่มันโต้ตอบกับระบบ การติดตั้งแรมแบบทวีคูณจากสี่จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด นั่นหมายความว่าแรมที่คุณติดตั้งควรเป็น 4GB, 8GB, 16GB และอื่นๆ เครื่องรุ่นเก่าบางเครื่องอาจมีแรม 2GB แต่เนื่องจาก Windows 10 ต้องการอย่างน้อย 2GB เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้นคุณจะพบว่าเครื่องในปัจจุบันจะมีแรมอย่างน้อย 4GB  แต่หากคุณพบว่าตัวเลขที่แสดงว่าไม่ใช่ผลคูณสี่ (เช่น 6GB) อาจเป็นไปได้ว่าแท่งแรมล้มเหลวหรือติดตั้งไม่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การติดตั้งแรมขนาด 12GB อาจบ่งบอกได้ว่าจากแรม 4GB ของคุณสี่แท่งมีอันหนึ่งล้มเหลว
 

ควรเลือกซื้อ แรม แบบไหน?

 

ปัจจุบันผู้ผลิตส่วนใหญ่แนะนำแรมอย่างน้อย 4GB สำหรับการประมวลผลแบบวันต่อวัน หากใช้ในการเล่นเกมและมีการใช้งานกราฟิกอื่นๆ ต้องใช้แรมที่มากขึ้นเล็กน้อย และแล็ปท็อประดับไฮเอนด์สามารถมีแรมได้ 16GB หรือสูงถึง 32GB ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเดสก์ท็อปสามารถก้าวไปได้ไกลกว่าเดิม อย่างเช่นใน Windows รุ่น 64 บิตบางรุ่นจะสามารถรองรับแรมได้สูงสุด 6TB ที่ถึงแม้ว่าคุณจะมีความเป็นไปได้สูงที่จะใช้สามารถใช้แรมได้ถึงขีดจำกัดสูงสุดของเมนบอร์ดเป็นเวลานานก่อนที่จะแตะขีดจำกัดนั้นก็ตาม
 
ก่อนที่จะไปซื้อ เรายังต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเล็กน้อย ยูทิลิตี้ CPU-Z ฟรีของ CPUID เป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับการรวบรวมข้อมูลนี้ โดยสามารถติดตั้งมันบนคอมพิวเตอร์ของคุณ จากนั้นเรียกใช้และไปที่แท็บหน่วยความจำ
 
มีรายละเอียดมากมายในแท็บนี้ที่เราไม่จำเป็นต้องรู้ แต่สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือ:

  • จำนวนสล็อตหน่วยความจำที่เมนบอร์ดของคุณที่มี (โดยปกติคือสองช่อง บางครั้งอาจจะหนึ่งช่อง หรือ สี่ช่อง)
  • หน่วยความจำประเภทใดที่ใช้ (โดยปกติจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวอักษร DDR)
  • ความถี่ของหน่วยความจำ (กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเร็วแค่ไหน)
 
ตอนนี้คุณมีข้อมูลทั้งหมดแล้ว คุณสามารถเริ่มค้นหาแรมที่ต้องการได้ เราขอแนะนำให้ซื้อของใหม่เสมอ เว้นแต่จะมีการรับประกันเหล็กหล่อหากคุณเลือกซื้อแรมมือสอง เนื่องจากชิปแรมค่อนข้างบอบบาง เพียงแค่สัมผัสผิดจังหวะก็สามารถแตกได้และหมุดเชื่อมต่อสีทองของมันอาจเสียหายได้ง่ายจากการติดตั้งซ้ำๆ
 
แม้ว่าจะแนะนำให้ใช้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ซื้อที่ไม่มีประสบการณ์) แต่คุณก็ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับข้อกำหนดของแรมที่ติดตั้งไว้แล้วในระบบมากนัก เพียงแค่คุณควรดูเอกสารประกอบต่างๆที่คุณมีเพื่อรองรับเมนบอร์ดของคุณ เนื่องจากสิ่งนี้มักเป็นกรณีที่เมนบอร์ดสามารถรองรับความถี่แรมได้หลากหลาย และคุณอาจพบว่าสิ่งที่ติดตั้งนั้นอยู่ในระดับต่ำสุดของช่วง
 
เพื่อให้ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากแรมใหม่ สล็อตเมนบอร์ดทั้งหมดควรมีหน่วยความจำเท่ากันและทำงานด้วยความเร็วเท่ากัน หากคุณมีสี่ช่องคุณสามารถใส่หนึ่งช่อง, สองหรือสี่ช่องก็ได้ แต่เช่นเคยหากคุณใช้มากกว่าหนึ่งช่อง ให้ใส่ชิปที่เหมือนกันในทุกช่อง นั่นหมายความว่าหากคุณไม่แน่ใจ 100% ว่ากำลังทำอะไรอยู่ อย่าซื้อแรมแท่งเดียวพร้อมกับบิตที่มีอยู่แล้ว เพราะสิ่งนี้อาจทำให้คอมพิวเตอร์มีค่าเสถียรน้อยกว่าค่าเริ่มต้น
 
มันคุ้มค่าและควรค่าแก่การลงทุนในชิปที่เหมือนกัน, ความเร็วเท่ากัน, แรมเดียวกัน และยี่ห้อเดียวกัน เราขอแนะนำแบรนด์ชั้นนำ เช่น Samsung, Crucial หรือ Kingston ที่ซื้อจากผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงและเชื่อถือได้
 

เคล็ดลับในการเลือกซื้อแรม

 

ก่อนที่คุณจะทำอะไร สิ่งสำคัญคือ คุณต้องตรวจสอบว่าระบบของคุณอนุญาตให้ขยายแรมได้หรือไม่ ในขณะที่พีซีและแล็ปท็อปสมัยใหม่ส่วนใหญ่จะมีช่องพิเศษสำหรับเพิ่มหน่วยความจำมากขึ้น แต่เครื่องรุ่นเก่าบางเครื่องอาจยังไม่มี เช่นเดียวกันกับอุปกรณ์ที่มีรูปแบบที่ผิดปกติในอุปกรณ์บาง อย่างเช่นอุปกรณ์ 2-in-1 ที่แรมอาจติดอยู่กับเมนบอร์ดซึ่งในกรณีนี้คุณจะไม่สามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้
 
MacBook หลายรุ่นส่วนใหญ่นั้นเหมือนกัน ใน MacBook Pro และ MacBook Air รุ่นล่าสุดมีแรมมาพร้อมกับ SSD ที่บัดกรีเข้ากับเมนบอร์ด และในขณะที่ iMac รุ่นใหม่บางรุ่นมีแรมที่ผู้ใช้สามารถอัพเกรดได้ในทางเทคนิค ซึ่งในการทำเช่นนั้นจำเป็นต้องมีการรื้อถอนเครื่อง นอกจากนี้ยังควรจดจำว่าหากคุณอัปเกรดแรมในเครื่อง Apple ของคุณ แรมจะมีขนาดและรูปร่างที่เฉพาะเจาะจงซึ่งแตกต่างจากที่คุณติดตั้งในแล็ปท็อป Windows
 
เมื่อพูดถึงการอัปเกรด คุณสามารถทำได้หากคุณต้องการที่จะทำมันจริง โดยการใช้ชิปแรมใดๆที่คุณมีอยู่ก็ได้ อย่างไรก็ตามในขณะที่เครื่องจะบู๊ต คุณอาจพบว่าเครื่องทำงานช้าลงและมีความเสถียรน้อยกว่าก่อนที่คุณจะยุ่งกับมัน
 
ชิปแรมมาพร้อมกับความถี่ที่แตกต่างกัน กล่าวคือความเร็ว หากคุณไม่รักษาความเร็วให้สม่ำเสมอมันก็เหมือนกับรถ Formula 1 ที่ชนชิเคนกะทันหัน ชิปที่ช้าจะทำให้ข้อมูลย้อนกลับจากชิปใหม่และเครื่องของคุณอาจมีอาการค้างและขัดข้องมากยิ่งขึ้น ดังนั้นคุณควรตรวจสอบหน้าการสนับสนุนสำหรับเครื่องของคุณและมองหาแรมความถี่ที่เร็วที่สุดเท่าที่เครื่องของคุณจะสามารถรองรับได้เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
 
มีอีกสองสามอย่างที่คุณควรระวังเมื่อซื้อแรม CAS Latency มักแสดงเป็น CL หรือ CAS ซึ่งเป็นการวัดความหน่วง พูดง่ายๆคือเวลาที่หน่วยความจำต้องรอเพื่อส่งข้อมูลไปยัง CPU สิ่งนี้จะไม่สำคัญมากนักเว้นแต่คุณจะสร้างพีซีที่มีสเปคสูง แต่ก็น่าสังเกตว่า ยิ่งค่า CAS ต่ำลงเท่าใด เวลาในการตอบสนองก็จะเร็วขึ้นเท่านั้น
 
เครื่องกระจายความร้อนก็คุ้มค่าที่จะมองหาเช่นกัน แม้ว่ามันจะไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพที่สำคัญให้กับเครื่องของคุณได้ แต่การมีคุณสมบัตินี้สามารถช่วยลดความร้อนของหน่วยความจำซึ่งสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานแรมของคุณได้
 
จำไว้เสมอว่าแรมเป็นสิ่งที่เปราะบางและต้องได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมการทำให้ถูกต้องในครั้งแรกจึงมีความสำคัญ ผู้ค้าปลีกส่วนใหญ่มักไม่ใส่ใจในการดึงแรมคืน เมื่อเอาแรมออกจากถุงป้องกันแล้วอาจแตกหักได้หากใช้งานผิดวิธีแม้เพียงเล็กน้อย
 
ข่าวดี คือ การอัปเกรดแรมสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ที่เฉื่อยชากลับมามีชีวิตอีกครั้งหรือแม้กระทั่งทำให้คอมพิวเตอร์ราคาถูกหรือสเปคต่ำ ให้มีความรู้สึกเหมือนอยู่ในคอมพิวเตอร์ระดับท๊อปๆได้ ซึ่งมันยังสามารถปรับเปลี่ยนและใส่ได้ง่าย ที่จะทำให้คุณควรรู้สึกถึงความแตกต่างในการตอบสนองในครั้งต่อไปที่คุณเปิดเครื่องอย่างแน่นอน

ที่มา: 
https://bit.ly/2PEYOWR
ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์