การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI)วิเคราะห์ใบหน้าเป็นครั้งแรกในการสัมภาษณ์งาน
Please wait...
SOLUTIONS CORNER
การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI)วิเคราะห์ใบหน้าเป็นครั้งแรกในการสัมภาษณ์งาน

การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการวิเคราะห์ใบหน้าเป็น “ครั้งแรก” ในการสัมภาษณ์งาน



นักรณรงค์การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(Privacy campaigners) กล่าวว่าวิธีการสัมภาษณ์งานด้วย AI อาจส่งผลกระทบอย่างมากสำหรับผู้สมัครงานเนื่องจากมีโอกาสสูงที่จะเกิดความไม่เป็นกลางในการสัมภาษณ์งาน


จากรายงานแสดงให้เห็นว่ามีการประยุกต์ใช้ระบบAI (Artificial Intelligence) และการวิเคราะห์ใบหน้าในการสัมภาษณ์ทางวิดีโอสำหรับผู้หางานในสหราชอาณาจักรเป็นครั้งแรก
เรื่องนี้ได้สร้างความกังวลจากนักรณรงค์การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy campaigners)ที่ได้ออกมาเตือนว่าขั้นตอนการสัมภาษณ์มีความเสี่ยงเรื่องการแบ่งแยกผู้สมัครเนื่องจากอาจมี“อคติในอัลกอริทึม” (Algorithm Bias).
มีการเปิดเผยว่าผู้ให้บริการระบบสัมภาษณ์งานผ่านปัญญาประดิษฐ์นี้คือบริษัทสัญชาติอเมริกาอย่าง Hirevueซึ่งโปรแกรมสามารถวิเคราะห์โทนเสียง, คำศัพท์ที่ใช้, และการแสดงออกทางสีหน้าในการสนทนาผ่านวิดีโอก่อนจะทำการคัดเลือกผู้สมัครอย่างละเอียด
บริษัทHirevueนี้ได้ทำงานร่วมกับบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งไม่ว่าจะเป็นยูนิลีเวอร์(Unilever),ฮันนี่เวลส์(Honeywell),และอินเทล (Intel) ซึ่งบริษัทเหล่านี้ต่างเห็นตรงกันว่าเทคโนโลยีจากปัญญาประดิษฐ์นี้ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในคัดเลือกผู้สมัครในขั้นตอนเริ่มต้นด้วยการพิจารณาผ่านวิดีโอแทนที่จะใช้เพียงCV เท่านั้น

จากเว็บไซต์ของทาง Hirevueได้มีการพูดถึงจุดเด่นของบริการว่า “เป็นการคัดเลือกผู้สมัครผ่านวิดีโอเหมือนการผ่านด่านในเกมส์” ซึ่งระบบปัญญาประดิษฐ์จะใช้เวลา 30นาทีในการรวบรวมจุดข้อมูล (Data Point) นับหมื่นของผู้สมัครได้ จึงมีการกล่าวว่า จะได้รับข้อมูลที่น่าเชื่อถือและมีตัวชี้วัดที่ตรงวัตถุประสงค์ของผู้คัดเลือกโดยปราศจากความลำเอียงหรือไม่เป็นกลาง (Bias) นอกจากนี้Nathan Mondragonหัวหน้านักจิตวิทยาของHirevue ยืนยันว่า “การแสดงออกทางสีหน้ายังสื่อถึงอารมณ์,พฤติกรรม, และลักษณะบุคลิกภาพได้แม่นยำขึ้น” (ข้อมูลจาก สำนักข่าว The Telegraph.)

ในจำนวนผู้สมัครงานแต่ละคนเราได้รับข้อมูลประมาณ 25,000จุดข้อมูลจากการบันทึกวิดีโอเป็นเวลา 15 นาที โดยที่ประมวลผลในรูปแบบข้อความ, เสียง,และวิดีโอพร้อมๆกันเพื่อแสดงผลการวิเคราะห์อย่างชัดเจนรวมถึงแสดงข้อมูลวิธีการแสดงออกของแต่ละคนทั้งด้านอารมณ์และความรู้ความเข้าใจของผู้ถูกสัมภาษณ์”
ทั้งนี้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ดังกล่าวถูกใช้สัมภาษณ์ผู้สมัครไปแล้วกว่า100,000 คนในสหราชอาณาจักรแต่ถึงกระนั้นก็มีข้อสังเกตเกี่ยวกับความถูกต้องของบริการนี้โดยเฉพาะในชุดข้อมูลที่บริษัทกำลังใช้อยู่ มีการชี้แจงว่าระบบอาจจะมีการเลือกปฏิบัติเพียงแค่อ้างอิงจากประวัติผู้สมัครงานที่มีหลากหลาย

Griff Ferris เจ้าหน้าที่ด้านกฎหมายและนโยบายจากองค์กรคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างBig Brother Watchให้ความเห็นว่า“การใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ไม่มีหน้าตาในการสัมภาษณ์คนนับหมื่นอาจสร้างผลกระทบและความไม่เป็นธรรมแก่ผู้สมัคร” 
อีกทั้งยังเสริมอีกว่า“ระบบอัลกอริทึมจะพยายามจดจำถ้อยคำ, ภาษากาย, และการแสดงออกของมนุษย์ที่ซับซ้อนได้ซึ่งจะสร้างผลกระทบแก่ผู้สมัครได้อย่างร้ายแรง”

“นอกเสียจากว่าระบบอัลกอริทึมจะได้รับการพัฒนาให้ฉลาดพอที่จะจำแนกชุดข้อมูลที่หลากหลาย ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงที่ปัญญาประดิษฐ์นี้จะให้ผลลัพธ์ที่ไม่เป็นกลางและถือว่าเลือกปฏิบัติหากอ้างอิงเพียงประวิติการทำงานของผู้สมัครส่วนใหญ่ที่ถูกวิเคราะห์ผ่านระบบ”
มีหลายกรณีที่ถูกหยิบยกขึ้นมา เช่นเหตุการณ์ของ อเมซอน (Amazon) ในการพยายามที่จะสร้างระบบคัดเลือกพนักงานแบบอัตโนมัติโดยชุดข้อมูลสำหรับอ้างอิงคือประวัติพนักงานเก่าและปัจจุบันที่จะถูกใช้ในการคัดเลือก ซึ่งกระบวนการของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จะทำการคัดกรอง CVของผู้สมัครโดยคาดหวังว่าจะได้ผู้สมัครที่ดีที่สุดแต่ผลปรากฏว่าระบบที่ทางบริษัทฯสร้างขึ้นคัดCV ของผู้สมัครหญิงออกอย่างชัดเจน เพราะว่าพนักงาน40%ในอเมซอน เป็นผู้หญิงและอยู่ในฝ่ายบริหารเพียงไม่กี่คนดังนั้นซอฟแวร์ที่คัดเลือกพนักงานจึงตีความว่าจะไม่มีการจ้างพนักงานเพศหญิง นี่จึงเป็นเหมือน “แด จา วู” สำหรับ Hirevueเนื่องจากมีการจัดอันดับผู้สมัครด้วยการให้คะแนน 1-100 โดยอ้างอิงจากข้อมูลของผู้ถูกว่าจ้างในอดีต

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์