SD WAN คืออะไร
Please wait...
SOLUTIONS CORNER
SD WAN คืออะไร

SD-WAN คืออะไร?



เชิญพบกับเทคโนโลยีที่จะทำให้คุณหายปวดหัวจากการจัดการเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง

ในปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับโลกใบนี้เป็นอย่างมาก เพราะเราใช้งานอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย ยิ่งเป็นกลุ่มธุรกิจต่างๆ ยิ่งต้องพึ่งพาอินเทอร์เน็ตมากที่สุดเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้เครือข่ายธุรกิจการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่แตกต่างกันนั้นก็เป็นส่วนสำคัญสำหรับองค์กรตั้งแต่การเชื่อมต่อ 4G ส่วนตัวไปจนถึงสายไฟเบอร์คงที่หลักที่ป้อนเข้าสู่สำนักงานใหญ่ทุกอย่างต้องทำงานได้อย่างราบรื่นโดยไม่มีการหยุดชะงักหรือประสิทธิภาพของทั้งระบบถูกจำกัด(คอขวด)หากการทำงานไม่ราบรื่นเพราะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีปัญหา ก็สามารถส่งผลให้การดำเนินงานในองค์กรช้าลงและเกิดการสูญเสียได้
นั่นเป็นสาเหตุที่ธุรกิจต่างๆหันมาใช้เครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง (SD-WAN)ที่จัดการเครือข่ายในสภาพแวดล้อมที่เสมือนจริงซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเส้นทางการรับส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตทั่วทั้งธุรกิจและคาดการณ์ปัญหาคอขวดก่อนที่จะขัดขวางการส่งข้อมูล
เทคโนโลยี WAN แบบดั้งเดิมเน้นการเชื่อมต่อในสถานที่ที่ต่างกันไป เช่น สาขาบริษัท ศูนย์ข้อมูล และสำนักงานใหญ่ แต่เมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความต้องการของเครือข่ายพัฒนาขึ้น การจัดการเส้นทางแบบดั้งเดิมเหล่านี้จึงล้มเหลวในการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการที่เกิดขึ้นใหม่
ความต้องการแบนด์วิชท์ (Bandwidth)ของลูกค้าและจำนวนผู้ใช้ที่ต้องการเข้าถึงเครือข่ายทำให้WAN เกิดปัญหาได้ ตามความต้องการใหม่ๆ จากผู้ใช้ Wifiเช่นความต้องการเรียกดูวิดีโอและการเข้าถึงระบบGuest Access ที่มากขึ้น แต่สิ่งที่กล่าวมานี้เป็นเพียงบางปัญหาที่ระบบSD-WAN ตั้งใจจะแก้ไข


เหตุใดเราจึงต้องใช้ SD-WAN?

เมื่อเทคโนโลยีและกระบวนการต่างๆ เริ่มทำงานแบบ Cloud-Centricมากขึ้น เทคนิคการรับส่งข้อมูลและการจัดการการเชื่อมต่อเครือข่ายจึงไม่สามารถใช้งานต่อไปได้SD-WAN จึงเป็นวิธีการจัดการเครือข่ายที่ทันสมัยและจะได้รับการยอมรับในอนาคต มันยังถูกออกแบบให้ใช้ส่วนติดต่อผู้ใช้บนหน้าจอ (Visual Interface) จากภายในอินสแตนซ์ (Instance) ของคลาวด์มากขึ้นอีกด้วย
SD-WANนั้นให้ประโยชน์มากมายกับองค์กรที่ใช้ระบบคลาวด์(Cloud) เป็นหลัก โดยมันจะปรับการทำงานให้เหมาะกับการดำเนินงานขององค์กรนั้นๆ
ด้วยองค์กรที่ให้การบริการด้าน Software และ Application ผ่านทางอินเตอร์เน็ต (SaaS) และองค์กรที่ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีและระบบการจัดเก็บข้อมูลขององค์กรเพื่อรองรับการใช้งานSoftware และ Application (IaaS)มีมากขึ้น ปริมาณการรับส่งข้อมูลที่ไหลผ่านเครือข่ายจึงเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และ SD-WAN ก็ได้ช่วยให้องค์กรจัดการกับการดำเนินงานได้ง่ายกว่าวิธีการจัดการWAN ก่อนหน้านี้
การสร้างเครือข่ายนั้นเป็นหนึ่งสิ่งที่สร้างความหงุดหงิดให้กับเจ้าหน้าที่แผนกITและเป็นส่วนที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาแก้ไขปัญหามากที่สุดเลยก็ว่าได้ การกำหนดค่าองค์ประกอบเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้างของธุรกิจเพื่อจัดการกับบริการใหม่หรือเพื่อจัดการกับความผิดปกติ มักเกี่ยวโยงกับการสั่งการไปยังเราเตอร์แต่ละตัวในเครือข่ายด้วยตนเอง ซึ่งอาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนขึ้นอยู่กับขนาดและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของเครือข่าย รวมถึงความซับซ้อนของสิ่งที่เปลี่ยน
วิธีการจัดการ WAN ก่อนหน้านี้ ผู้ดูแลระบบเครือข่ายมักต้องเขียนLine of Code หรือประมาณการซอฟต์แวร์ด้วยตนเองเพื่อส่งสัญญาณว่าการรับส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตควรไปที่ใด ซึ่งอาจใช้เวลานานมาก ยิ่งไปกว่านั้น หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นเพียงแค่หนึ่งส่วนในพันLine of Code แต่ผู้ดูแลระบบก็จะต้องค้นหาข้อผิดพลาดในแต่ละอันจนครบทุกอันเพื่อหาข้อผิดพลาดนั้น หากมีข้อผิดพลาดใน Code นั่นหมายถึงว่ากระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญอาจถูกระงับได้ ซึ่งมันจะส่งผลกระทบต่อทุกคนตั้งแต่พนักงานที่ขับเคลื่อนบริษัทจนถึงลูกค้าผู้ภักดีที่ไม่สามารถซื้อหรือติดต่อได้
แต่สำหรับ SD-WAN ผู้ดูแลระบบจะสามารถนำการปรับเปลี่ยนต่างๆ มาใช้กับเราเตอร์ทั้งหมดในเครือข่ายได้ในคราวเดียว ซึ่งมันจะลดความซับซ้อนของกระบวนการได้อย่างมากมาย


สิ่งที่ SD-WAN สามารถทำได้

SD-WAN ใช้เทคโนโลยีและหลักการของคลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud Computing)เพื่อทำให้การจัดการ WANยุ่งยากน้อยลง โดยทำได้ด้วยการแยกตัวของ Data Plane(ส่วนหนึ่งของเราเตอร์ที่จัดการกับข้อมูลจริง) จาก Control Plane (ส่วนหนึ่งของเราเตอร์ที่นำข้อมูล) รวมศูนย์การจัดการ และกำหนดค่าของ WANด้วยตนเองผ่านคอนโซล (Console) บนคลาวด์เดียว ซึ่งหมายความว่าแบนด์วิดท์(Bandwidth)จะสามารถแชร์แบบไดนามิกได้ทั่วทั้ง WAN และจัดการค่าใหม่จากระยะไกลแทนที่จะการกำหนดค่าใหม่ที่เครือข่ายเฉพาะแห่งโดยวิศวกรประจำสถานที่ SD-WAN นั้นจะสามารถจัดลำดับความสำคัญการจัดสรรแบนด์วิดท์ (Bandwidth) โดยปรับขนาดแบนด์วิดท์ (Bandwidth)ของเครือข่ายให้ยืดหยุ่นขึ้นและลงได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดที่สุดระหว่างระบบ WAN แบบดั้งเดิมและ SD-WANนั่นก็คือการจัดการและการกำหนดค่าเครือข่ายทั้งหมดสามารถทำได้จากระยะไกลด้วยคอนโซล (Console) การจัดการเดียว ซึ่งทำให้การจัดเตรียมระบบให้กับสาขาหรือสำนักงานใหม่นั้นรวดเร็วและง่ายขึ้นเมื่อเทียบกับWAN ปกติ แทนที่จะต้องส่งช่างเทคนิคด้านเครือข่ายลงไปยังสถานที่นั้นๆ เพื่อตั้งค่าและกำหนดค่าเครือข่ายให้กับสำนักงานใหม่ด้วยตนเอง แต่ทีม IT สามารถใช้คอนโซล (Console)การจัดการเพื่อตั้งค่าระบบตามนโยบายและกฎที่กำหนดไว้ล่วงหน้า จัดเตรียม และกำหนดค่าอุปกรณ์ใหม่เพียงแค่กดปุ่ม
นี่เป็นเครื่องประหยัดเวลามหาศาลสำหรับพนักงานสาขาและผู้ดูแลระบบ อีกนัยหนึ่งคือสิ่งพวกเขาต้องทำเมื่อมีอุปกรณ์เครือข่ายที่ต้องการเปลี่ยน พนักงานสามารถนำอุปกรณ์ออกจากกล่องแล้วเสียบปลั๊กโดยไม่ต้องรอให้ช่างมาเพื่อติดตั้งมัน มันสามารถใช้งานได้เกือบจะทันที ซึ่งหมายความว่าองค์กรจะสามารถประหยัดเวลาจากการติดตั้งฮาร์ดแวร์ด้านไอทีและลดความยุ่งยากให้กับพนักงาน เพราะพวกเขาจะสามารถทำงานโดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการตั้งค่าโครงสร้างพื้นฐานการเครือข่าย
SD-WAN นั้นเป็นผลดีต่อความคล่องตัวทางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธุรกิจนั้นเริ่มขยายตัว การทำให้เครือข่ายใช้งานได้นั้น เพียงส่งอุปกรณ์ไปยังอาคารใหม่และจัดสรรจากระยะไกลดังที่กล่าวข้างต้น ก็จะมั่นใจได้ว่าการตั้งค่าจะรวดเร็วและไม่ยุ่งยากและไม่เป็นคอขวด (Bottleneck)อีกต่อไป และมันยังช่วยธุรกิจด้าน Digital transformationในแบบเดียวกัน โดยมันจะอนุญาตให้องค์กรเปิดการใช้อุปกรณ์มือถือ Collaboration Tools บนคลาวด์ และเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ โดยไม่ต้องใช้เวลาหลายร้อยชั่วโมงเพื่อแน่ใจว่าเครือข่ายจะสามารถรองรับได้
SD-WAN ยังสามารถช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานของคุณในหลายๆ ด้าน เพราะช่วยลดจำนวนและความต้องการช่างเทคนิคประจำไซต์เวลาทำการเปลี่ยนหรือแก้ไขปัญหาเครือข่ายที่ใช้เวลานานและจึงทำให้วิศวกรเครือข่ายของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในทำนองเดียวกัน การใช้แม่แบบและโปรไฟล์ที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้านั้นเป็นเรื่องที่เล็กน้อย ไม่ยุ่งยาก ทีมศูนย์กลางของผู้ดูแลเครือข่ายสามารถดูแลการดำเนินงานจัดการเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้างโดยไม่จำเป็นต้องมีช่างเทคนิคประจำที่
CIOs ก็สามารถประหยัดเงินในการเชื่อมต่อด้วยตัวเองเช่นกันซึ่ง SD-WAN จะช่วยให้พวกเขาลดการพึ่งพาการเชื่อมต่อ MPLS ราคาแพงด้วยการรวมแบนด์วิดท์เข้าด้วยกันจากแพ็กเกจบรอดแบนด์ การเชื่อมต่อ 4G และการลิงก์ดาวเทียม เทคโนโลยีที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์(Software-Defined)นั้นยังหมายถึงเทคโนโลยีที่สามารถทำงานได้โดยใช้สินค้าฮาร์ดแวร์แทนการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีราคาแพง
นอกจากนี้ SD-WAN ยังมีผลดีต่อให้ความน่าเชื่อถือและคุณภาพของการเชื่อมต่อของคุณอย่างมหาศาล เนื่องจากเครือข่ายเหล่านี้มีการควบคุมจากส่วนกลาง ซอฟต์แวร์จึงสามารถกำหนดเส้นทางอัตโนมัติแลพจัดการตามกฎเพื่อให้แน่ใจว่าแอปพลิเคชันที่มีความไวต่อการตอบสนอง เช่น การประชุมทางวิดีโอ หรือเครื่องมือ VoIP มักจะมีแบนด์วิดท์เท่าที่จำเป็นต่อการให้บริการที่ราบรื่น ยิ่งไปกว่านั้น SD-WAN ยังมีความสามารถในการจัดกลุ่มการเชื่อมต่อหลายประเภทเข้าด้วย นั่นหมายความว่าธุรกิจสามารถ Failover ไปยังสายสำรองโดยอัตโนมัติ หากการเชื่อมต่อหลักของพวกเขาล้มเหลว

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์