เซิร์ฟเวอร์ DHCP คืออะไร
Please wait...
SOLUTIONS CORNER
เซิร์ฟเวอร์ DHCP คืออะไร

เซิร์ฟเวอร์ DHCP คืออะไร?


   เรามาดูกันว่า 
DHCP ช่วยให้การจัดการเครือข่ายในองค์กรง่ายขึ้นได้อย่างไร
แม้การนำอุปกรณ์เครื่องมือด้านไอทีส่วนตัวของคุณมาใช้ในที่ทำงาน (Bring your own device: BYOD) เป็นการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านประสิทธิภาพการทำงานในองค์กรก็ตาม แต่ก็ส่งผลให้พนักงานด้านไอทีต้องปวดหัวกับปัญหาต่างๆที่ตามมา เนื่องจากพวกเขาต้องทำให้มั่นใจ ว่าอุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้ในการทำงานนั้นมีความปลอดภัยเพียงพอต่อการแฮกข้อมูลหรือการโจรกรรมข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้
ปัญหาหนึ่งที่ผู้ดูแลระบบจำนวนมากเผชิญคือ การสร้างความน่าเชื่อถือในการเชื่อมต่อและการจัดการอุปกรณ์ในที่ทำงานทั้งหมดไปยังเครือข่ายขององค์กร ในขณะที่ยังคงความพร้อมการยืนยัน100% แน่นอนว่ามันเป็นไปได้ที่จะกำหนดค่ากับทุกอุปกรณ์ให้กับเครือข่ายโดยการตั้งค่าIP Address แต่ละรายการด้วยตนเอง แต่มันจะไม่มีประสิทธิภาพและผู้ดูแลระบบยังต้องเสียเวลาอีกด้วย
เป็นการดีกว่าที่จะพึ่งพาสิ่งที่เรียกว่า Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP) ซึ่งลดความซับซ้อนของกระบวนการ โดยการกำหนด IPAddress ให้เป็นอัตโนมัติโดยไม่ขัดขวางความปลอดภัยหรือการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ

DHCP คืออะไร?

DHCP เป็นเครื่องมือการจัดการเครือข่ายที่ทำงานร่วมกับสองโปรโตคอล ได้แก่ Transmission Control Protocol (TCP) และ Internet Protocol (IP)ซึ่งทั้งสองนี้จำเป็นต้องมีเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกันและเชื่อมต่อกับเครือข่าย
 
หน้าที่หลักของ DHCP คือทำให้การจัดการและการกำหนดค่าIPAddressทั่วทั้งเครือข่ายเป็นไปโดยอัตโนมัติ ดังนั้นผู้ดูแลระบบจึงไม่จำเป็นต้องกำหนดIP Addressด้วยตนเองทุกครั้งที่อุปกรณ์จะเชื่อมต่อ
เซิร์ฟเวอร์ DHCP ยังรับผิดชอบการกำหนดค่าเซิร์ฟเวอร์โดเมน (DNS)และมาสก์เครือข่ายย่อย รวมถึงเกตเวย์เริ่มต้นอีกด้วย
เซิร์ฟเวอร์ DHCP จัดว่าเป็นเครื่องมือการจัดการที่สามารถอธิบายตัวเองได้ค่อนข้างชัดเจน เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ DHCP และอุปกรณ์กำหนดให้เชื่อมต่อกับเครือข่ายด้วย IPAddressแบบไดนามิก รวมถึงการกำหนดค่าข้อมูลเครือข่ายอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ มันสามารถจัดการได้โดยที่ผู้ดูแลระบบไอทีไม่ต้องจำเป็นต้องมีส่วนร่วมมากนัก
ในธุรกิจขนาดเล็กหรืออุปกรณ์ภายในบ้าน เซิร์ฟเวอร์ DHCP นั้นมีอยู่ในเราเตอร์ได้ ในขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่อาจจะใช้ในรูปแบบคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวหรือเซิร์ฟเวอร์เพื่อทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์DHCP โดยเฉพาะ
 

DHCP ทำงานยังไง?

DHCP ทำงานโดยใช้รูปแบบไคลเอนต์ – เซิร์ฟเวอร์ โดยมีเซิร์ฟเวอร์DHCP ทำหน้าที่เป็นโฮสต์ ในขณะที่อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเป็นไคลเอนต์ (Client)ทันทีที่ลูกค้าทำการส่งคำขอไปยังเครือข่ายสำหรับที่อยู่ IPโฮสต์จะกำหนด IPAddressโดยนำมาจากรายการของตัวเลือกที่มีอยู่ ซึ่งนี่จะทำให้การสื่อสารระหว่างอุปกรณ์และเครือข่ายเกิดขึ้น

ข้อดีหลักของ DHCP

ประโยชน์หลักอย่างหนึ่งของการใช้เซิร์ฟเวอร์ DHCP เมื่อเทียบกับโซลูชั่นของระบบเครือข่ายอื่นๆ คือการตั้งค่าเครือข่าย TCP / IP ได้เร็วกว่า นอกจากนี้ยังง่ายต่อการจัดการเครือข่าย เนื่องจาก การทำงานที่ไม่ยุ่งยาก เพราะเซิร์ฟเวอร์จะกำหนด IP Address เองโดยอัตโนมัติ ดังนั้นพนักงานไอทีจึงไม่จำเป็นต้องทำด้วยตัวเอง
พนักงานไอทีจะมีเวลาทำงานและสามารถช่วยเหลืองานด้านอื่นๆ ได้มากกว่า การที่จะต้องมาคอยเสียเวลาจัดการกับระบบเครือข่ายที่ง่ายแต่ช่างสิ้นเปลืองทรัพยากรและเวลา
ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของการใช้เครือข่าย DHCP คือการเกิดปัญหาระหว่างอุปกรณ์นั้น เป็นไปได้น้อยมากเนื่องจากเซิร์ฟเวอร์จะกำหนดIPAddressแทนมนุษย์จึงมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ทั้งสองเครื่องจะถูกตั้งค่าเหมือนกันอย่างแน่นอน

ประโยชน์อื่นๆ ได้แก่ :

การจัดการ IP address(IP Address Management): หากคุณไม่ได้ใช้ DHCP คุณจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีทรัพยากรและเวลาในการย้ายไคลเอนต์หรือลูกข่ายแต่ละรายไปยังเครือข่ายย่อยด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ แต่หากคุณใช้เซิร์ฟเวอร์ DHCP ข้อมูลเครือข่ายทั้งหมดจะถูกทุกส่งโดย DHCPไปยังไคลเอนต์ดังนั้นคุณจึงไม่จำเป็นต้องลงมือทำขั้นตอนเหล่านี้ด้วยตัวเองเลย
เครือข่ายส่วนกลางที่ทำหน้าที่กำหนดค่าให้ไคลเอนต์ (Centralised network client configuration): หากคุณต้องการช่วงของการกำหนดค่าที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละไคลเอนต์คุณสามารถสร้างกลุ่มไคลเอนต์ เพื่อให้แต่ละกลุ่มมีการตั้งค่าที่แตกต่างกันตามความต้องการของธุรกิจ โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้ในที่เก็บข้อมูล DHCP และนี่คือที่ที่การกำหนดค่าสามารถเปลี่ยนแปลงเพื่อกระจายออกไปยังไคลเอนต์ทั้งหมดโดยไม่ต้องเปลี่ยนมันเองด้วยตัวของคุณ
รองรับเครือข่ายขนาดใหญ่(Large network support):DHCP มีประโยชน์ต่อเครือข่ายที่มีไคลเอ็นต์ DHCP นับล้านราย เนื่องจากสามารถใช้เซิร์ฟเวอร์ผ่านมัลติเธรดเพื่อประมวลผลคำขอของไคลเอ็นต์จำนวนมากพร้อมกัน เซิร์ฟเวอร์ยังรองรับแหล่งเก็บข้อมูลที่ปรับให้เหมาะกับการจัดการข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งการเข้าถึงแหล่งข้อมูลนั้นจะได้รับการจัดการโดยโมดูลการประมวลผลแยกต่างหากและทำให้คุณสามารถเพิ่มการสนับสนุนสำหรับฐานข้อมูลใดๆ ก็ตามที่คุณต้องการ

ฉันจำเป็นต้องใช้ DHCP หรือไม่?

คุณน่าจะใช้โปรโตคอล DHCP เป็นส่วนประกอบของเครือข่ายในบ้านหรือธุรกิจของคุณอยู่บ้างแล้ว เนื่องจากมันทำให้คุณไม่ต้องกำหนด IPAddressแบบคงที่ให้กับอุปกรณ์ใหม่ทุกชิ้นที่เข้าร่วมเครือข่ายด้วยตัวคุณเอง
แม้ว่ามันจะง่ายกว่าสำหรับสภาพแวดล้อมที่มีขนาดเล็ก แต่จะเป็นงานยากสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่จำเป็นต้องเชื่อมต่ออุปกรณ์หลายร้อยเครื่องเข้ากับเครือข่าย ซึ่งอุปกรณ์แต่ละเครื่องจะต้องมี IPAddressที่แตกต่างกัน มันจึงเป็นเรื่องที่น่าหวาดหวั่นหากเกิดเหตุการณ์รุนแรงจนทำให้มีผลกระทบต่อองค์กรที่ไม่มีทีมไอทีในพื้นที่
DHCP ที่ดำเนินการอัตโนมัติผ่านการกำหนดหมายเลขไอพีให้กับเครื่องไคลเอนต์แบบไดนามิก จะทำการออก IPAddressใหม่ให้กับอุปกรณ์ที่เข้าร่วมเครือข่าย และจะทำการยกเลิกการมอบหมายโดยอัตโนมัติ เมื่ออุปกรณ์มีการยกเลิกการเชื่อมต่อ
จริงๆแล้วก็มีเหตุผลเพียงไม่กี่ข้อว่าทำไมคุณจึงไม่ควรใช้ DHCP อย่างเช่นอุปกรณ์บางชนิดที่ได้รับประโยชน์จากการกำหนดหมายเลข IP Addressแบบค่าคงที่ เช่น เครื่องสแกน เครื่องพิมพ์ เซิร์ฟเวอร์การถ่ายโอนไฟล์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควรมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง
ในกรณีการใช้ IP address แบบไดนามิกเมื่อใช้ DHCP จะต้องมีอุปกรณ์เพื่ออัปเดตการตั้งค่าการเชื่อมต่อทุกครั้งที่พยายามสื่อสารกับเครื่องพิมพ์
คุณอาจพบปัญหาที่คล้ายกันกับการใช้เซิร์ฟเวอร์ DHCP หากคุณใช้เครื่องที่พนักงานสามารถเข้าถึงได้จากระยะไกล ซึ่งการกำหนด IP address แบบไดนามิกให้กับเซิร์ฟเวอร์ระยะไกลอาจก่อให้เกิดปัญหากับแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่ใช้การเชื่อมต่อ IP Address แบบคงที่ ซึ่งสิ่งนี้จำเป็นต้องมีการอัพเดทรายละเอียดทุกครั้ง
เห็นได้ชัดว่านี่เป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ ถึงแม้ว่า DHCP จะถูกใช้ข้ามเซิร์ฟเวอร์และเครือข่ายก็มีตัวเลือกในการกำหนด IP Addressแบบคงที่ให้กับอุปกรณ์บางตัว ดังนั้น มันจึงไม่ใช่อุปสรรคอีกต่อไปไม่ว่าธุรกิจของคุณจะมีขนาดเท่าใด
ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงอุปกรณ์ที่จะได้รับประโยชน์จาก IP Address แบบคงที่และกำหนดค่าด้วยตนเอง จากนั้นใช้ DHCP เพื่อดูแลการกำหนดIP Address ที่เหลือ เพื่อให้คุณและทีมไอทีของคุณมีอิสระที่จะทำงานที่น่าสนใจและสร้างสรรค์นวัฒกรรมใหม่ๆให้องค์กรของคุณได้มากขึ้น
สิ่งที่ต้องระวัง
ปัญหาด้านความปลอดภัยการใช้งานอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นสิ่งที่คุณควรตระหนักว่าการใช้ DHCP ในรูปแบบระบบอัตโนมัตินั้นอาจต้องพบกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอย่างร้ายแรง อย่างเช่นกรณีที่เซิร์ฟเวอร์ DHCP ของผู้ประสงค์ร้ายถูกนำเข้าสู่ระบบเครือข่าย ซึ่งเหตุการณ์นี้สามารถเกิดขึ้นได้หากไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่เครือข่าย ขณะเดียวกันผู้ประสงค์ร้ายยังสามารถเสนอ IP Address ให้กับผู้ใช้ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายได้ และหากผู้ใช้ทำการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ DHCP นั้น ข้อมูลที่ถูกส่งผ่านการเชื่อมต่อก็จะถูกดักจับและตรวจสอบโดยผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้และการรักษาความปลอดภัยบนเครือข่าย เทคนิคนี้จึงเป็นที่รู้จักกันดีในนามการโจมตีแบบคนกลาง หรือ  A man-in-the-middle attack (MITM)
ความล้มเหลวของเครือข่ายความล้มเหลวของเครือข่ายสามารถเกิดขึ้นได้หากมีเซิร์ฟเวอร์DHCP เดียวเท่านั้น เนื่องจากมันเป็นจุดเชื่อมเดียว ที่หากเกิดล้มเหลวจากจุดเดียวก็สามารถสร้างปัญหาให้ทั่วทั้งระบบได้ และหากเซิร์ฟเวอร์ล้มเหลว คอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ตามที่กำลังเชื่อมต่ออยู่โดยไร้ IP address ก็จะพยายามทำการเชื่อมต่อแต่ก็จะถูกปฏิเสธการเชื่อมต่อโดยคอมพิวเตอร์ที่มีIP address อยู่แล้ว
และคอมพิวเตอร์ที่มี IP Address ก่อนที่เซิร์ฟเวอร์จะล้มเหลวก็จะพยายามต่ออายุมันเองซึ่งจะทำให้คอมพิวเตอร์สูญเสียIP Address ได้ นั่นหมายความว่าคอมพิวเตอร์จะสูญเสียการเข้าถึงเครือข่ายจนกว่าเซิร์ฟเวอร์จะถูกกู้คืน
 
 
 
 

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์