Please wait...
IT UPDATE ENTERPRISE
รีวิว HPE ProLiant DL560 Gen10

รีวิว HPE ProLiant DL560 Gen10



 
HPE ProLiant DL 560 Gen10 มอบพลังแห่งการขับเคลื่อนด้วยซีพียู Xeon Scalable ที่อัดแน่นไปด้วยประสิทธิภาพระดับสูงสุด ในราคาสุดคุ้ม
 

ข้อดี


สามารถอัพเกรดจากเซิร์ฟเวอร์ที่มีรองรับการทำงานของซีพียูแบบ 2 ตัว (2P) เป็นแบบ 4 ตัว (4P) ได้อย่างง่ายดาย; สุดยอดแห่งความคุ้มค่า; ตัวเลือกการจัดเก็บที่หลากหลาย; การจัดการ iLO5 ที่ยอดเยี่ยม; แพลตฟอร์มการรักษาความปลอดภัยที่แน่นหนา

 

ข้อเสีย


ต้องอัพเกรดชิป S100i RAID เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาในการติดตั้งระบบปฏิบัติการ

 

สรุป


สำหรับองค์กรธุรกิจที่กำลังเติบโต ที่ต้องการเซิร์ฟเวอร์แบบเรียบง่าย ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานของ Xeon Scalable และพร้อมที่จะเติบโตไปพร้อมกับองค์กร พวกเขาจะต้องชอบอะไรหลายๆ เกี่ยวกับ ProLiant DL560 Gen10 ที่มีความยืดหยุ่นสูง ของ HPE อย่างแน่นอน
 
HPE นับว่าได้เปรียบคู่ต่อสู้ เนื่องจากว่า ProLiant DL560 Gen10 เป็นหนึ่งในเซิร์ฟเวอร์ Rack ขนาด 2U แบบ 4P รุ่นแรกๆ ที่ออกสู่ตลาด โดยใช้ซีพียู Xeon Scalable Processor เป็นหน่วยประมวลผลหลัก ซึ่งมีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการ SMEs และกลุ่มวิสาหกิจที่ต้องการความเข้มข้นในการประมวลผลจากเซิร์ฟเวอร์ Rack ที่ดีที่สุด สำหรับ DL560 Gen10 ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้มีความยืดหยุ่นสูงนั้น ก็เพื่อที่จะช่วยให้คุณเริ่มต้นจากการลงทุนที่ไม่มาก และสามารถที่จะ เติบโตได้ตามระดับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น
 
ระบบพื้นฐาน (Base systems) สามารถรองรับซีพียู Xeon Scalable ได้สองตัว โดยมีการทำงานร่วมกันกับหน่วยความจำแบบ DIMM ที่มีถึง 24 slot และเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม และพร้อมที่จะก้าวไปสู่การประมวลผลที่มีซีพียูแบบ 4 ตัว (4P) ก็เพียงแค่ทำการเพิ่มชุด Mezzanine Board Kit ของ HPE เข้าไป ซึ่งจะทำให้ได้ซ็อกเก็ต CPU เพิ่มขึ้นมาอีก 2 ซ็อกเก็ต และช่องสำหรับติดตั้งหน่วยความจำ (DIMM slots) อีก 24 Slot
 
ระบบ 4P ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น สามารถรองรับ DDR4 SmartMemory ได้สูงถึง 6.0 TB และยังสามารถจัดการกับหน่วยความแบบจำถาวร (Persistent Memory) รุ่นล่าสุดของ HPE ได้ถึง 24 ชุด ซึ่งเป็นหน่วยความจำแบบ NVDIMMs (Non-Volatile Dual In-line Memory Modules) ขนาด 16GB โดยเป้าหมายเหล่านี้ มีไว้สำหรับแอปพลิเคชั่นแบบ High-demand Applications ยกตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชั่นที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ (Analytics) หรือฐานข้อมูล (Databases) นอกจากนี้ยังรวมกับ DRAM ประสิทธิภาพสูง ที่เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ขนาด 16GB พร้อมทั้งหน่วยความจำแฟลชขนาด 16GB ที่ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM และได้รับการปกป้องข้อมูลโดย HPE Smart Storage Battery ในกรณีที่เกิดปัญหาทางด้านไฟฟ้าหรือพลังงาน
DL560 Gen10 เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับซีพียู Xeon Scalable ที่มีความสามารถแบบ 4P โดยที่มีค่า TDP สูงสุดที่ 205W ดังนั้นคุณสามารถเลือกจากรุ่นที่มีราคาไม่สูงมากอย่าง Xeon 5100 และยังสามารถปรับสเกลขึ้นไปในระดับ Platinum ที่มีจำนวน 28 Core ได้ นอกจากนี้ HPE ยังได้เปิดเผยถึงความสามารถในการรองรับสำหรับซีพียูประสิทธิภาพสูงอย่าง รุ่น Gold 6143 และ Platinum 8165 ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดของ Intel อีกด้วย

 

HPE ProLiant DL560 Gen10: รายละเอียดและการออกแบบภายใน


จากรุ่นที่เราตรวจสอบคือ รุ่น Entry 840369-B21 ที่จะทำให้คุณไม่ต้องถูกจำกัดในช่วงของการเริ่มต้นอีกต่อไป ด้วยการทำงานของซีพียู Intel Xeon Gold 5120 แบบ 14 Core ความเร็ว 2.2GHz ที่ทำงานร่วมกันกับหน่วยความจำ DDR4 ขนาด 32GB และโปรดจำไว้ว่า สมาชิกทั้งสามของตระกูล Xeon 5100 นั้น สามารถรองรับหน่วยความจำ ที่มีความเร็วสูงสุดถึง 2,400MHz ดังนั้น เพื่อที่จะได้รับความเร็วที่สูงกว่า 2,666MHz คุณจำเป็นต้องที่จะต้องระบุความต้องการเป็นซีพียูรุ่น Gold 6100 หรือ Platinum 8100
 
ระบบภายในของเซิร์ฟเวอร์ แสดงให้เห็นว่ามันถูกสร้างขึ้นอย่างมีคุณภาพ รวมถึงการออกแบบที่เป็นระเบียบ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าถึงส่วนประกอบที่สำคัญทั้งหมดได้อย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านการอัพเกรดและการบำรุงรักษา สำหรับซีพียูสองตัวนั้น จะถูกติดตั้งไว้กับ Heatsink แบบ Passive อย่างแน่นหนา โดยที่ซ็อกเก็ตแต่ละข้างจะถูกขนาบข้างด้วยสล็อต DIMM 12 Slot
 
อุปกรณ์ระบายความร้อนได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดย Bank ที่บรรจุพัดลมระบายอากาศ แบบ Hot-plug 6 ตัว ที่อยู่ด้านหลัง แบ็คเพลนของไดร์ฟ (Drive Backplane) สามารถที่จะถอดและเคลื่อนย้ายส่วนประกอบเหล่านี้ได้ตามต้องการ ส่วนระบบที่มาพร้อมกับเซิร์ฟเวอร์ระดับเริ่มต้น (Entry-level) ของรุ่นนี้ก็คือ PCI-Express แบบ 3 Slot ที่เชื่อมต่อด้วย Riser Card จำนวน 1 ชุด ที่อยู่ทางด้านหลัง และยังมีพื้นที่ว่างสำหรับ 3 Slot Riser ชุดที่สอง ซึ่งอยู่ติดกันกับชุดแรก และยังมีอีก 2 Slot Riser ที่อยู่เหนือส่วนที่เป็นช่องสำหรับบรรจุ PSU (Power Supply Unit)
 
บนระบบที่สามารถรองรับการทำงานของซีพียูแบบ 2P นั้น จะมี Air Shroud ขนาดใหญ่คลุมในส่วนที่เป็นซ็อกเก็ตซีพียู (CPU socket) และหน่วยความจำ (Memory) ซึ่งมันจะถูกยกเลิกเพื่อเว้นที่ให้กับ Mezzanine Board เพื่อการอัพเกรด นี่จึงเป็นกระบวนการที่ทำได้ไม่ยาก ในขณะที่บอร์ดใหม่จะถูกจัดวางไว้อย่างเรียบร้อยลงใน Bracket ที่เป็นโลหะสำหรับรองรับ ทั้งยังมีการรักษาความปลอดภัยโดยการปิดและปลดล็อคด้วยที่จับของมัน



 

HPE ProLiant DL560 Gen10: ตัวเลือกการจัดเก็บข้อมูล


ทุกโมเดลจะเริ่มต้นด้วย Smart Array S100i controller แบบฝังตัว ของ HPE ที่สามารถรองรับ RAID 0, 1, 5 และ 10 สำหรับไดร์ฟ SATA ได้สูงสุด 14 ตัว แต่มันก็ยังไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจากมันรองรับได้เฉพาะโหมดการ Boot แบบ UEFI และ Windows เท่านั้น โดยที่ไม่ได้ร่วมมือกับ Intelligent Provisioning ของ HPE รวมทั้ง ไม่สามารถที่จะทำการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ Smart Array Administrator ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญ
 
เราต้องการที่จะติดตั้ง Windows Server 2016 ลงในระบบ จึงได้ทำการบูตเซิร์ฟเวอร์ แบบ UEFI จาก USB Flash Drives ด้วยไฟล์ ISO และทำการติดตั้ง S100i Driver สำหรับ Windows ด้วยตัวเอง โดยเลือกใช้การติดตั้งแบบมาตรฐาน (Standard Installation) เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ เราขอแนะนำคำสั่งที่ใช้จัดการ (Snap-in) โมดูล Smart Array ของ HPE ซึ่งสามารถตอบสนองได้มากกว่าและมีการนำเสนอคุณสมบัติขั้นสูง อย่างเช่น การสนับสนุน SAS3, ตัวเลือกการทำ RAID ที่มากขึ้น รวมทั้งตัวเลือกความจุของหน่วยความจำแคช
 
ตัวเลือกการจัดเก็บข้อมูลที่มีให้เลือกมากมายสำหรับ DL560 Gen10 นั้น จะเป็นไปตามรูปแบบมาตรฐานของ HPE ที่มีการกำหนดค่าไดร์ฟเบย์ (Drive Bay) แบบ 8+8+8 ซึ่งจะช่วยให้สามารถติดตั้งไดร์ฟในรูปแบบ SFF ได้สูงสุด 24 ไดร์ฟ นอกจากนี้ คุณยังสามารถเลือกที่ปรับแต่งด้วยการติดตั้งชุด Universal Media ของ HPE ได้อย่างลงตัวในช่องทางด้านซ้าย โดยจะเป็นการแทนที่ในส่วนของ USB 3.0 แบบ Dual, DisplayPort ซึ่งก็รวมถึง Optical Drive และพื้นที่ว่างสำหรับ SFF อีกสองไดร์ฟ
 
ในขณะเดียวกัน มันยังสามารถรองรับการติดตั้ง NVMeSSD ได้สูงสุด 12 ตัว โดยเบย์ที่หนึ่งและสาม ซึ่งจะสามารถรองรับได้เบย์ละ 2 ตัว ในขณะที่เบย์ที่สองซึ่งอยู่ตรงกลางนั้น สามารถรองรับการติดตั้งอีกทั้งหมด 8 ตัว นอกจากนี้เมนบอร์ดยังมีพอร์ต USB 2.0 ให้อีกหนึ่งคู่ และสล็อต MicroSD Card สำหรับการบูตเพื่อเข้าสู่ระบบ Server Virtualization หรือ Hypervisor แบบฝังตัว


 

HPE ProLiant DL560 Gen10: พลังงาน, ระบบเครือข่ายและการจัดการ


ระบบของเราประกอบไปด้วย PSU แบบ Hot-plug ขนาด 1,600W จำนวน 1ตัว และในเบย์เดียวกันนั้นยังมีพื้นที่ว่างด้านข้างที่ติดกัน เพื่อรองรับ PSU ตัวที่สอง ในขณะที่ Power Supply ทำการจ่ายไฟด้วย Riser แบบ 2 Slot ซึ่งคุณสามารถที่จะเพิ่มแบ็คเพลน (Backplane) สำหรับ Flex Slot power พร้อมด้วย PSU อีกสองตัว ที่เชื่อมต่อกับ Power Supply ที่แยกต่างหากสำหรับอุปกรณ์จ่ายไฟสำรอง (Redundant power supply) ที่เพิ่มเข้ามา
 
มีแท็บล็อค (Locking Tab) เพียงตัวเดียวที่อยู่ทางด้านขวาของ PCI-Express riser ซึ่งก็หมายความว่ามันสามารถปลดล็อคได้อย่างง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือช่วย และที่ด้านล่าง คุณจะได้พบกับสล็อต FlexibleLOM ของ HPE ที่สำคัญนั่นก็คือ ในราคานี้ คุณยังจะได้รับโมดูล Gigabit 4 พอร์ต โดยที่ HPE ก็ยังเสนอให้ในส่วนของอะแดปเตอร์แบบ 10GbE และ 25GbE อีกด้วย
 
ด้วยตัวควบคุมการจัดการ HPE Integrated Lights Out (iLO 5) แบบฝังตัวของ HPE ซึ่งในกรณีนี้ DL560 Gen10 ได้นำเสนอในด้านระบบการรักษาความปลอดภัยของแพลตฟอร์มอย่างเข้มงวด โดยประกอบไปด้วย Secure Start, Secure Recovery และการตรวจสอบความถูกต้องของเฟิร์มแวร์โดยใช้ลายพิมพ์นิ้วมือ (Fingerprinting) ในขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยตั้งแต่ฐานรากระดับซิลิคอน (Silicon Root of Trust) ของ HPE ซึ่งจะไม่สามารถบูตเซิร์ฟเวอร์ได้ หากลายพิมพ์นิ้วมือไม่ตรงกับค่าที่ตั้งไว้
 
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับส่วนประกอบที่สำคัญจะถูกอัดแน่นอยู่ในส่วนที่เป็นเว็บอินเตอร์เฟสของ iLO5 เมื่อใดก็ตามที่คุณตัดสินใจอัพเกรดสิทธิ์ในการเข้าใช้งานเป็นระดับ Advanced หรือจะเป็นระดับ Essentials license สิ่งที่คุณจะได้รับนั่นก็คือ การแสดงค่าปริมาณพลังงานไฟฟ้า(Power metering), การควบคุมระบบปฏิบัติการจากระยะไกล (OS remote control) และบริการสื่อเสมือน (Virtual Media Services) อย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้เรายังได้ทำการเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับ iLO 5 ซึ่งเป็นตัวประมวลผลการจัดการเซิร์ฟเวอร์ระยะไกล ลงในแอพพลิเคชั่น OneView โดยใช้แบบจำลองของห้องปฏิบัติการบน Hyper-V ที่ช่วยให้เราสามารถทำการตรวจสอบได้อย่างใกล้ชิด ในส่วนของ CPU, พลังงาน (Power) ตลอดจนอุณหภูมิ (Temperatures) รวมถึงใช้เครื่องมือต่างๆ ของมันในการควบคุมพลังงานและใช้งานเซสชันการควบคุมระยะไกล



 

HPE ProLiant DL560 Gen10: สรุป


ProLiant DL560 Gen10 จัดว่าเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ดีที่สุดอีกหนึ่งรุ่น นั่นเป็นเพราะว่ามันสามารถที่จะอัดแพ็คเกจของ Xeon Scalable ลงไปใน Chassis ที่เรียบง่ายขนาด 2U ได้อย่างน่าทึ่งเลยทีเดียว และยังรวมสิ่งเหล่านี้เข้ากับตัวเลือกการจัดเก็บที่ยอดเยี่ยม ตลอดจนระบบการรักษาความปลอดภัยของแพลตฟอร์มที่เหนียวแน่น  มันเหมาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจที่ต้องการลงทุนเฉพาะสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในขณะนี้ แต่ก็ยังมีตัวเลือกในการรองรับการเพิ่มอัตราการทำงาน (Horsepower) ที่มากขึ้นในอนาคตข้างหน้า เนื่องจาก มันสามารถที่จะอัพเกรดประสิทธิภาพจากเซิร์ฟเวอร์ในรูปแบบ 2P เป็นแบบ 4P ได้ในทันที


ที่มา:
www.itpro.co.uk

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์