รีวิว Dell XPS 13 PLUS: XPS รุ่นพลัส ที่แบตเตอรี่ไม่พลัส
Please wait...
COMMERCIAL IT UPDATE
รีวิว Dell XPS 13 PLUS: XPS รุ่นพลัส ที่แบตเตอรี่ไม่พลัส

รีวิว Dell XPS 13 PLUS: XPS รุ่นพลัส ที่แบตเตอรี่ไม่พลัส


Dell XPS13 Plus

XPS 13 ดีไซน์ใหม่ที่มาพร้อมกับปัญหาใหม่เต็มไปหมด
 

Dell ทำให้กลุ่มผู้ติดตามตลาดแล็ปท็อปถึงกับตกใจเมื่อประกาศเปิดตัว XPS 13 Plus ทั้งที่ XPS 13 ธรรมดา (ไม่ได้เป็นรุ่น Plus) ก็ครองตำแหน่งแล็ปท็อปวินโดว์แนะนำมาอย่างยาวนาน มันเด่นกว่ารุ่นอื่นในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะในแง่คุณภาพงานประกอบ ทาง Dell ก็ยังขายรุ่นนั้นต่อไปพร้อมอัปเกรดโปรเซสเซอร์ให้เป็น Gen 12th ส่วน XPS 13 Plus เป็นรุ่นที่แยกออกมา ตามที่เข้าใจ คือเป็นรุ่นสำหรับคนที่ต้องการยกระดับประสิทธิภาพของ XPS ไปอีกขั้น หรือใครก็ตามที่ต้องการใส่ประสิทธิภาพเน้นๆ ลงในเครื่องขนาด 13 นิ้วให้มากเท่าที่จะทำได้

เพื่อการนั้น Dell เลยทำทุกวิถีทางเพื่อให้ XPS 13 Plus นั้นบางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตัวทัชแพดเป็นแบบตอบสนองสัมผัสที่ถูกผสมผสานเข้ากับที่วางฝ่ามือทั้งหมด แทบไม่มีช่องพอร์ต ส่วนคีย์บอร์ดแบนราบ แถบฟังก์ชันถูกแทนที่ด้วยแถบสัมผัส LED และรุ่น Plus จะแพงกว่ารุ่นต้นแบบที่ไม่ใช่ Plus เริ่มต้นที่ 300 ดอลลาร์ ทั้งหมดนี้เป็นการเจอกันครึ่งทาง กรณีของ Dell คือเพื่อให้ได้แล็ปท็อปที่เบาบางและแรงที่สุด

น่าเสียดายที่ XPS 13 Plus ไม่ได้เป็นอย่างนั้น มันทั้งแพงกว่า แถมร้อนกว่าแล็ปท็อปที่มีขนาดและน้ำหนักเท่ากันที่การทำงานใกล้เคียงกันหรือมากกว่า และยังมีปริมาณแบตเตอรี่ที่มากกว่า กล้องหน้าที่ดีกว่า และตัวเลือกพอร์ตใช้งานที่หลากหลายกว่า และนี่ยังไม่รวมถึงของจุกจิกต่างๆ บนแผงคีย์บอร์ดนะ เราคงไม่ใช่คนเดียวที่รู้สึกเดจาวูหรอก แต่เหตุการณ์ทั้งหมดนี้นั้น อารมณ์เดียวกับตอนที่ Apple เปลี่ยน MacBook โดยอ้างว่าเพื่อความเบาบาง แต่สุดท้าย…ก็ไม่ค่อยจะราบรื่น

 

ข้อดี

  • บางและเบา

  • จอ OLED อย่างดี

  • โปรเซสเซอร์ P-series เร็วแรง

  • ประสิทธิภาพมัลติคอร์แข็งแรง

  • โครงสร้างพิเศษ
     

ข้อด้อย

  • ราคาแพงเกินไป

  • เครื่องร้อนมากทั้งที่ไม่ได้ทำงานหนัก

  • ปริมาณแบตเตอรี่ไม่มาก

  • พอร์ตน้อยมาก (และไม่มีพอร์ตแจ็คสำหรับหูฟัง)

  • ฟังก์ชันปุ่ม LED ให้ความรู้สึกแปลก

  • มองไม่เห็นทัชแพดและตื้นเกินไป
     

เริ่มที่ข้อดีกันก่อน XPS 13 Plus ทำจากอลูมิเนียมและกระจกได้อย่างสวยงาม ฝาหลังแข็งแรงเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อปิดลงก็แทบไม่เห็นความแตกต่างระหว่างรุ่น XPS ตัวดั้งเดิมเลย ในส่วนของความทนทานก็มีบ้างที่จะเสียไปเมื่ออุปกรณ์บางลง แต่ Dell ไม่ได้ยอมลดความทนทานลงเลย คุณจะหาแล็ปท็อปขนาด 13 นิ้วที่ทนทานกว่านี้ไม่ได้แล้ว ตัวเครื่องค่อนข้างดูดี ด้วยแผงคีย์บอร์ดแบบเรียบที่สร้างความสวยงามไร้ที่ติ เห็นถึงความล้ำสมัยชัดเจน คำตำหนิอย่างเดียวเกี่ยวกับฐานช่วงล่างของเครื่อง คือ เครื่องสีกราไฟท์ที่นำมารีวิวคือเป็นรอยนิ้วมือง่าย ซึ่งถ้านี่เป็นปัญหาสำหรับคุณ ก็ยังมีสีแพลตตินัมให้เลือกอีก

ไฮไลต์อีกอย่างคือหน้าจอ ส่วนตัวทางเราได้ทดสอบรุ่น OLED ความละเอียด 3456 x 2160 อัตราส่วนภาพ 16:10 พบว่าภาพสว่างเป็นที่น่าพอใจด้วยสีที่มีชีวิตชีวาและสีจ้านิดหน่อย ด้วยขนาดกรอบที่เล็ก (91.9% ของหน้าจอต่อตัวเครื่อง) หน้าจอนี้จึงถูกที่ขนานนามโดย Dell ว่า “จอไร้ขอบ” แต่อย่าลืมว่ามันรองรับแค่ 60Hz เท่านั้น ซึ่งใช่ว่าทุกคนจะสนใจ แต่ก็มีบางคนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

ทางเราเองก็แปลกประหลาดใจกับลำโพง รวมไปถึงเครื่องเสียงแบบเสียงพุ่งขึ้นด้านบนทั้งสองชุดใต้คีย์บอร์ดและแบบเสียงพุ่งลงอีกสองชุดตรงตัวฐาน เสียงเพอร์คัสชันบางไปหน่อย แต่คุณภาพเสียงถือว่าดีอย่างเห็นได้ชัดว่ามีการปรับปรุง XPS 13 ในปีที่ผ่านมา (และเสียงก็ไม่เพี้ยนตอนเปิดเสียงดังสุด ซึ่งเคยเกิดปัญหานี้กับตัวก่อนหน้านี้) บอกได้ว่าคุณภาพเสียงนั้นพอๆ กับเสียงของ MacBook Air M2 เลย ซึ่งถือว่าดีและเข้ากันกับแล็ปท็อปประเภทวินโดว์ การตั้งค่าอุปกรณ์เสียงก็สามารถปรับได้การติดตั้ง MaxxAudio ล่วงหน้า

นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ Dell ยอมแลกเพื่อความบางที่เห็นได้ชัดเจนเช่นกัน ก่อนที่จะไปเรื่องนั้น เราอยากพูดถึงขนาดเครื่อง ตัวเครื่องมีความหนา 0.6 นิ้วและหนัก 2.77 ปอนด์ (รุ่นที่ไม่ใช่ OLED หนัก 2.71 ปอนด์) ซึ่งเหมาะสมกับการพกพา แน่นอนว่ามีแล็ปท็อปวินโดว์ขนาด 13 นิ้วมากมายที่บางเบากว่า รวมถึงตัวเลือก OLED และสินค้าที่ถูกกว่าตัวนี้มาก อย่าง MacBook Air M2 ซึ่งบางกว่าอย่างเห็นได้ชัด

สิ่งที่โดนแลกไปเพื่อความบางเบาอย่างแรก คือ การที่พอร์ตเดียวที่มีคือพอร์ต Thunderbolt 4 USB-C จำนวน 2 พอร์ต ไม่มีแม้แต่พอร์ตแจ็คสำหรับหูฟัง หนึ่งในพอร์ต USB-C ก็เอาไว้ชาร์จแล็ปท็อป เหตุเพราะอะแดปเตอร์ 60W ที่ให้มาไม่ได้ชาร์จเร็วเลย ในขณะที่การใช้ Chrome โหมดกลางวัน ยังต้องใช้เวลาตั้ง 1 ชั่วโมง 14 นาทีเพื่อชาร์จถึง 60% คุณควรคำนวณราคาช่องเสียบ USB หรือฮับในค่าอุปกรณ์เพิ่มด้วยถ้าคิดจะซื้อ

อย่างที่สอง: ทัชบาร์ ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่ทัชบาร์แบบปรับได้อย่างทัชบาร์ของ Apple (ซึ่งตอนนี้เลิกทำไปแล้ว) แต่เป็น “แถบฟังก์ชันตอบสนองสัมผัส” อย่างจอสัมผัสเปลือยที่มาแทนแถบปุ่มฟังก์ชันแบบที่คีย์บอร์ดอื่นมี เป็นแถบ LED ที่ประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆ อย่างความสว่าง ระดับเสียง ปิดไมโครโฟน ออก แทรก ฯลฯ เมื่อกดปุ่ม Fn ค้าง คีย์บอร์ดก็จะเปลี่ยน LED เป็นคีย์ฟังก์ชันปกติ

ปัญหาแรกที่เจอคล้ายๆ กับตอนที่ Apple โดนตำหนิเรื่องทัชบาร์ อย่างเช่น ไม่เห็นจะมีการตอบสนองสัมผัสอะไรกลับมาเลย แต่ก็ไม่มั่นใจว่าเป็นเพราะทางเราไม่ได้กดปุ่มอะไรก่อนหรือเปล่า

อย่างที่สอง: ถ้ามีอะไรติดอยู่ในแถบ (ฝุ่น เส้นผม อะไรก็ตาม) เราจะไม่สามารถปัดออกได้โดยที่ไม่กดไปโดนปุ่มทั้งแผงจนอะไรก็ตามที่เราทำอยู่เละเทะไปหมด

อย่างที่สาม: เราไม่ได้เตรียมใจไว้เลยกับความยุ่งเหยิงที่จะเกิดขึ้นเมื่อปุ่มลัดคีย์รวมปุ่มอย่างปุ่ม Delete และปุ่ม Escape เข้าด้วยกัน ซึ่งจำเป็นต้องมีในการผสมคีย์จริงและคีย์หลอก คือคนอาจจะชินแล้ว แต่ตอนนี้ก็รู้สึกแปลกอยู่ดี

อย่างที่สี่: แทร็กแพด เมื่อเปิด XPS 13 Plus สิ่งแรกที่เห็นนั้นดูไม่เหมือนแป้นสัมผัสเลย แต่เป็นแค่แผงกระจกเปล่าไร้รอยใดๆ ใต้คีย์บอร์ด แต่มันกลับเป็นแทร็กแพดที่ตอบสนองสัมผัสในบริเวณที่คาดไม่ถึง ซึ่งมันไม่ได้วาดโครงไว้ เลยต้องพึ่งความจำกล้ามเนื้อเพื่อให้รู้ว่าตัวเองกำลังคลิกถูกที่ เราไม่ได้เจอปัญหาการกับการใช้งานนี้เลย เพราะมือขวารู้ว่าต้องคลิกตรงไหนตามสัญชาตญาณ น่าเสียดายที่ความจำกล้ามเนื้อมือซ้ายไม่ได้เป็นอย่างนั้น และกลายเป็นปัญหาในบางครั้งตอนที่ต้องใช้มือซ้ายแทน นี่ทำให้ยุ่งยากเป็นพิเศษเมื่อต้องคลิกและลากอะไรบางอย่างหรือไฮไลต์ข้อความ ซึ่งสำหรับเรานั้นจำเป็นต้องใช้สองมือ และมีหลายครั้งที่จังหวะแรก มือซ้ายจะกดพลาดในส่วนที่มองไม่เห็น

อีกอย่างก็คือ ความรู้สึกตอนคลิกแทร็กแพดค่อนข้างตื้น Dell เคยกระตุ้นให้ครอบครัวของนักรีวิวทดสอบเครื่อง (แต่พวกเขาก็ไม่เชื่อว่ามันเป็นกระจกแข็งๆ จริงๆ ทั้งที่เราบอกไปแล้ว)

สิ่งสุดท้ายเกี่ยวกับแทร็กแพด ก็คือ มันเสียการควบคุมไปเลยทั้งที่มือแค่เปียกนิดหน่อยตอนใช้ หลายครั้งที่คิดว่ามันกดแล้วหลุดทั้งที่ไม่ได้ปล่อย (ซึ่งก็ทำให้ใช้ไม่ได้) เมื่อทางเราถาม Dell ถึงเรื่องนี้ บริษัทก็บอกว่านี่เป็นเรื่องปกติของแทร็กแพดแบบตอบสนองสัมผัส (รวมถึงแทร็กแพดส่วนใหญ่สมัยนี้) และแนะนำให้ทำให้มือแห้งก่อนใช้แล็ปท็อป ก็ฟังดูเข้าใจได้ แต่เราใช้แล็ปท็อปหลายรุ่นทุกสัปดาห์ก็แทบจะไม่เคยเจอปัญหาหนักเท่านี้

ส่วนตัวเราไม่มีปัญหากับคีย์บอร์ด “ไร้กรอบ” ตัวใหม่ที่ถูกทำให้ราบเรียบทั้งหมดเท่าไหร่ ซึ่งมันเป็นแบบขอบชนขอบจริงๆ แทบจะไม่มีช่องระหว่างคีย์เลย ถ้ารูปภาพทำให้กังวลว่าเราจะได้คีย์บอร์ดแบบ Butterfly มาอีกเป็นครั้งที่สอง ก็เลิกกังวลได้ มันไม่ได้แย่ขนาดนั้น ถึงจะหนาเพียง 1 มิลลิเมตร แต่ตัวคีย์ก็รู้สึกค่อนข้างเด้งในขณะที่เสียงเงียบแบบพอดี ตัวแป้นกว้างพอที่จะทำให้ไม่เกิดปัญหาตอนพิมพ์เร็วๆ และพิมพ์ได้ถูกต้อง ถึงแม้ว่าโดยรวมจะต้องใช้เวลาเพื่อให้รู้สึกชิน แต่ก็มีการออกแบบตกแต่งสองสามอย่างที่อาจจะทำให้ให้บางคนรำคาญ อย่างคีย์ลูกศรที่กึ่งสูงและปุ่มปิดเครื่องที่เบียดปุ่ม backspace

สุดท้าย เว็บแคมมีการปรับปรุงในรุ่นล่าสุด (ซึ่งถือว่าเป็นบาร์ที่ต่ำแล้ว) แต่ก็ยังไม่ได้ดีขนาดนั้น แทนที่จะเดินตามรอย Apple ที่วางกล้องบากออกมาจากกรอบขนาดเล็ก Dell กลับเก็บกรอบเล็กนั่นไว้ แต่แยกกล้องอินฟาเรด (เพื่อการจดจำใบหน้า) ออกจากเว็บแคม 720p เพื่อนร่วมงานของผมถึงกับเห็นรายละเอียดอย่างเส้นผมตอนกำลังวิดีโอคอลกันเลย ถึงจะไม่ได้มืดหรือสีซีด แต่จากรูปก็ดูหยาบ และมีจุดรบกวนอยู่ดี

ทั้งหมดข้างล่างนี้คือสิ่งที่ดีของ XPS 13 Plus: ชิป Gen 12th Core P-series แล็ปท็อปไซส์ขนาดนี้ส่วนใหญ่จะใช้ U series ที่ออกแบบมาเพื่อส่วนประกอบที่บางเบา แต่รุ่น Plus ก็ไม่ได้ไปวุ่นวายกับอะไรพวกนั้น ตัวบิวด์พื้นฐานมีราคา 1,299 ดอลลาร์ รวม i5-240P, RAM 8GB, หน่วยเก็บความจำ 512GB (M.2 Gen 4 PCle SSD) และหน้าจอแบบสัมผัสไม่ได้ 1920 x 1200 แต่ที่ทางเราได้มาก็จะหรูหราขึ้นมาหน่อย ด้วย Core 7-1280P, RAM 16GB, หน่วยเก็บความจำ 512GB และหน้าจอ OLED ความละเอียดสูง ถ้าเป็นแบบไม่ใช่ OLED หน้าจอ 1920 x 1200 จะราคา 1,749 ดอลลาร์ ตัว SSD สามารถอัปเกรดเพิ่มได้ แต่อย่างอื่นจะติดตั้งแบบยึดกับที่มาแล้ว

รุ่นนี้มีราคา 1,949 ดอลลาร์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องพูดก็ได้ว่านี่คือคอมพิวเตอร์ที่ราคาแพง อย่าง MacBook Air M2 (ขอพูดอีกครั้ง บางกว่า เบากว่า พอร์ตเยอะกว่า เว็บแคมดีกว่า แถบฟังก์ชันแบบปุ่ม และแทร็กแพดใช้งานได้มากกว่า) ที่สเปคประมาณใกล้เคียงกันนั้น ถูกกว่ารุ่นที่เรามีซัก 350 ดอลลาร์ รุ่นที่เรารีวิวกันจะเป็น 10-Core CPU ซึ่งถูกกว่า 250 ดอลลาร์ (ทั้งคู่ถูกกว่ารุ่น XPS Plus แบบหน้าสัมผัสไม่ได้ ไม่ใช่ OLED) ส่วนรุ่น XPS 13 Core-i7 U-series (ซึ่งมากับหน้าจอ 1920 x 1200 เท่านั้น)  จะถูกกว่า 600 ดอลลาร์

เมื่อพูดถึงประสิทธิภาพ อุปกรณ์นี้ก็ได้อัปเกรดจากตัว XPS 13 Gen 11th ซึ่งแน่นอนว่ามันแรงกว่าเครื่อง Gen 12th U-series ไหนๆ เราไม่เคยเจอปัญหาเรื่องประสิทธิภาพในการทำงานออฟฟิศส่วนใหญ่เลย การแต่งรูปก็โอเค ส่วน Premier Pro นี่ไม่ดีเลย หลายๆ เวอร์ชันของโปรแกรมนี้ใช้เวลานานมากเพื่อเปิด พอใช้งานก็ช้า ค้างบ่อยมาก แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติในตลาดนี้

ในการทดสอบมาตรฐาน รุ่น 13 Plus ชนะ MacBook Air M2 ของ Apple ในการทดสอบมาตรฐานมัลติคอร์ อย่างไรก็ตาม 13 Plus ไม่ได้ใกล้เคียงกับ M2 เลยทดสอบแบบซิงเกิลคอร์หรือปัญหาตอนลองรันใช้งานกราฟิก อีกอย่างที่ XPS 13 Plus นำหน้าตัว Air ไปไกลคือพัดลม ซึ่งตามทฤษฎีจะช่วยสนับสนุนการทำงานหนักๆ ได้ แต่พัดลมของ XPS 13 Plus ก็ทำงานหนักเหมือนกัน เพราะว่า ให้ตายเถอะ นี่มันร้อนสุดๆ

หลังจากลองใช้งานทั่วไปหลายชั่วโมง (ในกรณีของเราคือเปิด Chrome เป็นสิบๆ จอพร้อมใช้งานกับ Slack) แล็ปท็อปนี้ก็ร้อนจนจะเดือด เราร้อนมากที่ต้องวางมือบนที่วางพักฝ่ามือและต้องพิมพ์คีย์บอร์ด ถ้าจะให้วางบนตักคือฝันไปได้เลย

ปกติเราจะใช้โหมดเงียบตอนทำงาน แต่ลองใช้พัดลมหลายๆ แบบแล้ว ก็ยังไม่มีตัวไหนที่ดีและแตกต่างเลย โหมด Optimized ทำให้ตัวเครื่องเย็นกว่าแต่ก็ยังอุ่นๆ โหมดเย็นทำให้พัดลมดังน่ารำคาญ แต่ก็ยังไม่ทำให้ตัวเครื่องเย็นอยู่ดี เราใช้ประสิทธิภาพสูงสุดตอนทดสอบมาตรฐาน (เลยทำให้พัดลมดังสุด ๆ ดังถึงขั้น Intel MacBook Pro) แต่ CPU ก็ยังร้อนถึง 100 องศาเซลเซียสบ่อยๆ (ไม่ก็ประมาณนั้น) ถึงอย่างนั้น ความสามารถที่น่าภูมิใจของมันคือ อุปกรณ์นี้ดูเข้าท่าที่สุดสำหรับการใช้งานสั้น ๆ ถ้าไม่อยากเผาตัวเครื่องกับ CPU และคะแนนเรื่องความต่อเนื่องที่ลดลงจากการรัน Cinebench ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มาช่วยซัพพอร์ตประเด็นนี้ของเรา

ต่อมาคือเรื่องปริมาณแบตเตอรี่ เราใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 5 ชั่วโมง 2 นาทีในการใช้งานต่อเนื่องกับจอ 200 nits ไม่ต้องสงสัยเลยว่าจอความละเอียดสูงคือตัวการ เราประสบความผิดหวังเรื่องระยะเวลาจากจอ OLED รุ่น XPS บ่อยๆ (ทั้งที่เทคโนโลยี OLED ควรจะช่วยเรื่องปริมาณแบตเตอรี่) ถึงอย่างนั้น เราจะรีวิวเครื่องที่มีตลอด และเครื่องนี้ก็ไม่ได้ใช้งานได้นานพอที่จะสมควรตั้งราคา 2,000 ดอลลาร์

นี่ทำให้ปัญหาเรื่องการเชื่อมต่ออุปกรณ์หนักขึ้น เพราะทำให้ต้องใช้เวลามากในการเชื่อมต่อ ดังนั้นก็จูบลาพอร์ตอีกครึ่งหนึ่งได้เลย เรารู้ว่าตัวเองกำลังย้ำเรื่องนี้เหมือนแผ่นเสียงตกร่อง แต่ก็อยากเน้นย้ำ MacBook Air ใช้งานได้นานกว่านี้สองเท่า

XPS 13 Plus นั้นถือว่าน่าประทับใจในเรื่องความกล้าออกนอกกรอบ คุณจะไม่ค่อยได้เห็นแล็ปท็อปที่พยายามจะทำสิ่งใหม่ๆ ที่มีสินค้าไม่กี่อย่างทำไปแล้ว เราเคารพเป้าหมายของ Dell ที่ใส่โปรเซสเซอร์ P-series เข้ามาในตัวเครื่องที่บางและสวยอย่างนี้

แต่นวัตกรรมในโลกทั้งหมดก็ยังเปลี่ยนสิ่งที่แล็ปท็อปตัวนี้เป็นจริงๆ ไม่ได้ นี่คือเครื่อง OLED XPS และเราก็พูดเรื่องซ้ำๆ อีกแล้ว เคยพูดเรื่องรุ่น OLED XPS มาตลอดเป็นปีแล้ว มันสวยงามและแข็งแรง แต่มันร้อนเกินไป และจอความละเอียดสูงก็ทำให้อายุแบตเตอรี่ตายสนิทเลยทีเดียว


ที่มา:
 https://bit.ly/3pKWyeO

สนใจสั่งซื้อสินค้า Notebook Dell คลิก >> https://www.quickserv.co.th/commercial/notebook/DELL.html

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์