Please wait...
IT UPDATE ENTERPRISE
รีวิว Lenovo ThinkPad P16 Gen 1

รีวิว Lenovo ThinkPad P16 Gen 1


 

โปรเซสเซอร์ Intel Core HX สุดทรงพลังที่มาพร้อมการ์ดจอ NVIDIA RTX แบบยกเครื่องและหน้าจอขนาด 16:10 ทำให้ Lenovo ThinkPad P16 Gen 1 กลายเป็นเวิร์กสเตชันเคลื่อนที่สำหรับงานระดับมืออาชีพ
 

สเปค Lenovo ThinkPad P16 Gen 1

 
ThinkPad P16 Gen 1 มาแทนที่ ThinkPad P15 Gen 2 ขนาด 15.6 นิ้ว และ ThinkPad P17 Gen 2 ขนาด 17.3 นิ้ว ในฐานะแล็ปท็อปเวิร์กสเตชันที่ทรงพลังที่สุดของ Lenovoณ เวลานี้ โดย Thinkpad รุ่นนี้เน้นอัปเกรดการใช้งานประสิทธิภาพรอบด้านด้วยโปรเซสเซอร์ Core HX-class ที่มีกำลังวัตต์สูงกว่าของ Intel และกราฟิก NVIDIA RTX แบบยกเครื่อง
 
ชิป Core HX ซึ่งเป็นแกนหลักของ ThinkPad P16 Gen 1 นั้นทำให้แล็ปท็อปเครื่องนี้มีประสิทธิภาพราวกับเดสก์ท็อป ด้วยกำลังไฟพื้นฐาน 55 วัตต์ Core i9-12950HX ซึ่งอยู่ในเครื่องตัวรีวิวของเรานั้นมี 16 คอร์แบบเดียวกับเดสก์ท็อป Core i9-12900K (ที่มีคอร์ Performance 8 คอร์และคอร์ Efficient 8 คอร์ซึ่งรองรับถึง 24 เธรด) และมีความเร็วสูงสุดถึง 5.0GHz ภายใต้สภาวะความร้อนและระดับการใช้พลังงานที่เหมาะสม โดยเจ้าตัว Core i9-12950HX นี้ยังรองรับ Intel vPro Enterprise อีกด้วย
 
ทั้งนี้ ThinkPad P16 Gen 1 ยังมีออปชั่นการ์ดจอ NVIDIA RTX ระดับมืออาชีพถึงระดับสเปค 16GB RTX A5500 ให้เลือก ซึ่งเป็นการยกระดับที่ดีขึ้นประมาณนึงจาก RTX A5000 ตัวเก่า โดย Lenovo ยังจัดการให้แล็ปท็อปตัวนี้มีใบรองรับ ISV หลายแบบสำหรับแอปพลิเคชันสร้างสรรค์และสำหรับงานมืออาชีพที่หลากหลาย
 
โดยตัวเลือกสำหรับขนาดพื้นที่จัดเก็บนั้นยังรวมตัวเลือกสำหรับ M.2 Gen4 SSD สองตัวใน RAID 0/1 โดยให้ RAM สูงสุดถึง 128GB ด้วยสล็อต DDR5-4800 SO-DIMM สี่ช่อง ซึ่งสามารถดูข้อมูลสเปคเต็มๆ ได้ที่ด้านล่างนี้


OS Up to Windows 11 Pro or Linux LTS
Processor Up to Intel Core i9-12900HX (16C, 24T, 2.3/5.0GHz)
Graphics Up to NVIDIA RTX A5500 16GB ECC, 115 TGP
Memory Up to 128GB DDR5-4800 ECC/nECC (4 SO-DIMM slots)
Display
  • 16” WUXGA 16:10 (1920×1200), Anti-glare, 100% sRGB – 300 nits
  • 16” WQXGA 16:10 (2560×1600), Anti-glare, 100% sRGB – 400 nits
  • 16” WQUXGA 16:10 (3840×2400), Anti-glare, Dolby Vision, 100% Adobe RGB – 600 nits
  • 16” WQUXGA 16:10 (3840×2400), OLED, HDR500 True Black, Dolby Vision Anti-reflection / Anti-smudge multitouch, 100% DCI-P3 – 400 nits
Storage Up to two M.2 2280 SSD, up to 4TB each (8TB Total), PCIe 4.0 x4, RAID 0/1 support
WLAN Intel Wi-Fi 6E AX211 + Bluetooth™ 5.1
Ports (1) USB-C 3.2 Gen 2 (date, power 3.0, DP 1.4)
(1) HDMI 8k/60Hz (NVIDIA models) (4K/60Hz Intel models)
(2) USB-A 3.2 Gen 1, 1 Always On
(2) USB-C Thunderbolt 4 / USB4
(1) SD Express 7.0 card reader
(1) Mic/Headphone Combo Jack
(1) Smart Card Reader (optional)
(1) Nano-SIM card slot (optional)
Camera Up to FHD Hybrid IR Camera with ThinkPad Webcam Privacy Shutter
Keyboard 6-row, spill-resistant, numeric keypad, backlit
Navigation 3-button TrackPoint® pointing device and mylar surface multi-touch touchpad (67.6mm x 115mm)
Audio 2 x 2W Stereo speakers, Dolby® Atmos®
Security
  • Discrete TPM 2.0, TCG certified, Firmware TPM 2.0 integrated in chipset, Touch Style fingerprint
  • reader, Kensington Nano Lock Slot
Battery 94Wh battery, supports Rapid Charge (charge up to 80% in 1hr) with 170W and 230W AC adapter
Mechanical
  • Starting at 364 x 266 x 30.23 mm (14.3 x 10.5 x 1.2 inches)
  • Starting at 2.95 kg (6.5 lbs)
Color/Materials Top: Storm Grey / AL5052 Bottom: Thunder Black / PPS + 50% GF
 

การสร้างสรรค์และการออกแบบ Lenovo ThinkPad P16 Gen 1

 
The ThinkPad P16 Gen 1 สานต่อรูปแบบเดิมของ Thinkpad โดยมาในรูปแบบสีดำล้วนพร้อมเคสสี Storm Grey สวยสะอาดตา วัสดุบอดี้ดีตามคาดสำหรับเครื่องระดับนี้โดยมีพื้นผิวหลักส่วนใหญ่เป็นโลหะ รวมถึงมีโครงสร้างรองรับแมกนีเซียมในตัวเพื่อความแข็งแรงเป็นพิเศษ Lenovo ทดสอบเครื่องรุ่นนี้โดยใช้มาตรฐาน MIL-STD 810G เกรดสำหรับการทดสอบแรงกระแทก แรงสั่นสะเทือน ความชื้น ฝุ่น ความกดอากาศ และอุณหภูมิขีดสุด
 
Thinkpad รุ่นนี้มีน้ำหนัก 6.5 ปอนด์ ซึ่งไม่ใช้น้ำหนักที่เบาเลย สืบเนื่องจากตัวเคสที่แข็งแกร่งเป็นพิเศษและระบบระบายความร้อนที่ทรงพลัง ทำให้มันหนักมากกว่าแล็ปท็อปทั่วไปอย่างไม่ต้องสงสัย ThinkPad นี้มีขนาด 14.3 x 10.5 x 1.2 นิ้ว โดย Lenovo นำเสนอ ThinkPad P16s เป็นทางเลือกหากต้องการแล็ปท็อปที่เบากว่านี้ ซึ่งรุ่นนี้มีน้ำหนักเพียง 3.7 ปอนด์และมีขนาดเพียง 14.3 x 10.1 x 0.8 นิ้ว แต่มีประสิทธิภาพด้อยกว่ามาก โดยใช้การ์ด NVIDIA T550 เกรดที่ต่ำกว่าเข้ามาแทน
 
ความแตกต่างสำคัญของ ThinkPad P16 Gen 1 เมื่อเทียบกับรุ่น ThinkPad P15 Gen 2 คือขนาดหน้าจอ 16:10 ซึ่งมีขนาดพื้นที่หน้าจอแนวตั้งมากกว่าหน้าจอ 16:9 โดยเครื่องที่เราใช้รีวิวนี้เป็นหน้าจอ IPS ที่มีความละเอียด 3840×2400 สำหรับรองรับรายละเอียดเล็กน้อย เหมาะสำหรับการทำงานระดับมืออาชีพ ด้วยสี Adobe RGB 100% และความสว่างถึง 600 นิต
 
นอกจากนี้ยังมีหน้าจอแบบอื่นๆ เป็นออปชั่นให้เลือก รวมถึงหน้าจอ OLED ขนาด 3840×2400 ซึ่งได้คะแนนไม่สูงนักในแง่ของความสว่าง แต่ควรจะให้สีสันที่หลากหลายกว่า ส่วนหน้าจอพื้นฐานอยู่ที่ขนาด 1920×1200 และยังมีตัวเลือกสำหรับหน้าจอ 2560×1600 ที่อยู่ในระดับกลางๆ นอกจากนี้บางจอยังรองรับระดับสัมผัส โดยทุกตัวเลือกของแต่ละหน้าจอมาพร้อมสี X-Rite Pantone ที่ส่งตรงจากโรงงาน
 
กล้องเว็บแคมความละเอียด 1080p แถมหน้าจอยังทำงานได้ดีกว่ารุ่นทั่วไปที่มีความละเอียดเพียง 720p และยังมีชัตเตอร์ปิดหน้าจอเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว โดยใต้จอนั้นยังเป็นสปีกเกอร์ Dolby Atmos ของ Thinkpad และปุ่มเปิด/ปิด มาให้ด้วย โดยปุ่มนี้ยังอ่านลายนิ้วมือได้ด้วยระบบจับคู่ฝังชิป
 
ทั้งนี้ คีย์บอร์ดของ Thinkpad จะให้ความรู้สึกฟินมือเวลาใช้งาน เพราะมีความเด้งสู้มือ รวมถึงยังปรับระดับความสว่างแป้นของไฟ LED ได้ถึงสองระดับ ซึ่งทำให้ใช้งานได้ง่ายแม้อยู่ในความมืด ปุ่มตัวเลขเป็นขนาด full-size โดยแยกปุ่มลูกศรออกไปเป็นทรง T ส่วนปุ่ม Fn และ Ctrl นั้นถูกสลับไปอยู่มุมซ้ายล่าง แต่สามารถใช้แอป Lenovo Vantage เพื่อสลับข้างได้ 
 
ปัจจุบัน Lenovo เป็นผู้ผลิตแล็ปท็อปเพียงรายเดียวที่ยังมีแทร็คสติ๊กให้ใช้นอกเหนือจากทัชแพด โดยมีปุ่มเฉพาะสามปุ่ม ส่วนทัชแพดนั้นไม่มีปุ่ม แต่ถ้ามีรูปแบบสามปุ่มเหมือนกันก็น่าจะดีกว่า 
 
พอร์ตด้านซ้ายประกอบด้วยพอร์ต USB-A 3.2 Gen 1 และUSB-C 3.2 Gen 2 และแจ็คหูฟัง/ไมโครโฟน และสล็อต Nano-SIM เสริมสำหรับรุ่นที่มี WWAN 4G/5G ในตัว และยังมี Wi-Fi 6E และ Bluetooth 5.1 ที่มีมาให้อยู่แล้วตามมาตรฐาน
 
ส่วนพอร์ตด้านขวาจะเป็นพอร์ต SmartCard ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริม ตัวอ่านการ์ด SD ขนาด full-size และพอร์ต USB-A 3.2 Gen 1 นอกจากนี้ยังมีสล็อตรักษาความปลอดภัย Kensington Nano อีกด้วย
 
ด้านหลังยังมีพอร์ตต่างๆ รวมถึงขั้วต่อสายไฟ พอร์ต Thunderbolt 4 จำนวน 2 พอร์ต (USB-C) และพอร์ต output วิดีโอ HDMI 2.1 แล้วยังมีช่องระบายอากาศทรงพลัง Thinkpad รุ่นนี้ยังมีแถบสีแดงแบบใหม่เพิ่มเข้ามา และเน้นย้ำให้เห็นถึงประสิทธิภาพการทำงานของแล็ปท็อปรุ่นนี้
 

ฟีเจอร์ที่อัปเกรดใน Lenovo ThinkPad P16 Gen 1

 
ความสามารถในการให้งานนั้น ถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับเวิร์กสเตชันระดับไฮเอนด์ ในฐานะตัวตัดสินว่าเวิร์กสเตชันรุ่นนี้จะอยู่ในวงการไปได้อีกกี่ปี โดยในโปรเซสเซอร์และการ์ดจอนั้นไม่สามารถอัปเกรดได้ แต่ส่วนประกอบหลักอื่นๆ ใน ThinkPad P16 Gen 1 ยังคงเปลี่ยนได้ทั่วไป
 
Thinkpad รุ่นนี้มีแผงด้านล่างแยกออกมาโดยเฉพาะเพื่อช่วยให้สามารถเข้าถึงสล็อต M.2 2280 Gen4 หนึ่งช่องและสล็อต DDR5-4800 SO-DIMM อีกสองช่องได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญคือ SSD นั้นยังมีฮีทซิงค์คุณภาพดีครอบอยู่อีกชั้น
 
โดยเมื่อถอดแผงด้านล่างออกทั้งหมด ก็จะเจอแบตเตอรี่และการ์ด Wireless อีกด้วย ทั้งนี้ ThinkPad P16 Gen 1 มีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ 94 วัตต์/ชั่วโมง พร้อมฟีเจอร์ชาร์จที่รวดเร็ว ทำให้ชาร์จได้สูงสุดถึง 80% ภายใน 60 นาที
ใต้คีย์บอร์ดยังมีช่องเสียบ Gen4 อีกช่องหนึ่งและช่องเสียบ SO-DIMM อีกสองช่อง ซึ่งฮีทซิงค์ยังครอบคลุม SSD ในส่วนนี้ด้วย โดยติดอยู่กับแผงปิดที่ครอบทั้งหมดอยู่


ประสิทธิภาพการทำงานของ Lenovo ThinkPad P16 Gen 1

คุณสมบัติของ ThinkPad P16 Gen 1 มีดังต่อไปนี้

  • Windows 11 Pro

  • 16-inch WQUXGA (3840×2400) screen

  • Intel Core i9-12950HX processor

  • NVIDIA RTX A5500 graphics card (16GB)

  • 64GB DDR5-4800 RAM (2x32GB)

  • 2TB Gen4 SSD

  • 230-watt power adapter

  • การันตี 1 ปี

 
เครื่อง ThinkPad P16 Gen 1 ตัวที่เราใช้รีวิวนี้มีราคา 4,539 ดอลลาร์ส่งตรงจาก Lenovo ซึ่งถือมันเป็นรุ่นที่แพงที่สุดรุ่นหนึ่ง โดยรุ่นพื้นฐานมีราคาอยู่ที่ 1,639 ดอลลาร์ แต่มาพร้อมกับโปรเซสเซอร์ Core i5, กราฟิก 4GB RTX A1000 และ RAM 16GB ซึ่งหากจะเอารุ่นที่ทำงาน 3 มิติระดับปานกลางและใช้เป็นเวิร์กสเตชันได้ก็จะเป็นรุ่นที่มีราคาอยู่ที่ 3,239 ดอลลาร์ โดยมีสเปคเป็นโปรเซสเซอร์ Core i7, การ์ดจอ 12GB RTX A3000 และ RAM 64GB นอกจากนี้ Lenovo ยังเปิดทางเลือกให้ปรับแต่งสเปค ThinkPad P16 Gen 1 ได้ตามความต้องการของคุณอีกด้วย
 
ในส่วนของการวัดมาตรฐานประสิทธิภาพ เราทำการทดสอบ ThinkPad P16 Gen 1 ทันทีที่แกะกล่อง โดยผู้ใช้สามารถปรับแต่งการตั้งค่าประสิทธิภาพได้ในแอพ Vantage  และใช้แป้นพิมพ์ลัด Fn + Q สลับระหว่างโหมดไปมาได้
 

เกณฑ์การทดสอบ SPECviewperf 2020

 
ในการทดสอบแรก เราใช้เกณฑ์ SPECviewperf 2020 ซึ่งเป็นเกณฑ์ทดสอบมาตรฐานสำหรับประสิทธิภาพการทำงานด้านกราฟฟิคสำหรับแอปพลิเคชันมืออาชีพที่ใช้ UI โปรแกรมมิ่งของ OpenGL และ DirectX โดยเกณฑ์นี้จะจำลองการทำงานสร้างกราฟฟิคและรูปแบบพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันจริงโดยที่เราไม่ต้องติดตั้งอะไรเพิ่ม ซึ่งเกณฑ์นี้เพิ่งปรับปรุงเป็นเวอร์ชันล่าสุดเมื่อปีที่แล้ว โดยรวมการวัดค่าการทำงานของแอปพลิเคชัน 3ds Max, Catia, Maya, และ Solidworks เข้ามาด้วย นอกจากนี้ยังรองรับการวัดเกณฑ์ทั้งในรูปแบบหน้าจอความละเอียด 2K และ 4K
 
ThinkPad P16 Gen 1 ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมรองจาก HP ZBook 17 Fury G8 ซึ่งได้คะแนนนำกว่าประมาณนึงในทุกการทดสอบเกณฑ์มาตรฐานที่ทำไป นอกจากนี้มันยังเอาชนะ Dell ได้ด้วย แต่อย่างที่บอกคือ Dell ไม่ได้ใช้การ์ดจอระดับโหดเท่า Thinkpad อยู่แล้ว
 

เกณฑ์การทดสอบ SPECworkstation 3

 
ต่อมา เราใช้เกณฑ์การทดสอบ SPECworkstation3 ซึ่งเป็นเกณฑ์ทดสอบมาตรฐานที่ออกแบบมาเพื่อทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเวิร์กสเตชันในทุกมิติสำคัญ โดยใช้เวิร์กโหลดมากกว่า 30 รายการเพื่อทดสอบ CPU กราฟิก I/O และความเร็วของหน่วยความจำ ปริมาณงานแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ที่กว้างขึ้น เช่น สื่อและความบันเทิง บริการทางการเงิน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ พลังงาน วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และการดำเนินงานทั่วไป เราจะแสดงรายการผลลัพธ์แบบรวมๆ สำหรับแต่ละรายการให้ดู ไม่ใช่แบบแยกทีละอัน โดยผลที่ได้จะเป็นค่าเฉลี่ยของปริมาณงานทั้งหมดในแต่ละหมวดหมู่ ซึ่ง ThinkPad P16 Gen 1 ในภาพรวมนั้นได้ผลที่ดีกว่า คะแนนการประมวลผล GPU ของมันสูงกว่าของ HP ซึ่งใช้ RTX A5000 รุ่นเก่าอย่างเห็นได้ชัด
 

 

Lenovo ThinkPad P16 Gen 1 (UHD, Core i9-12950HX, RTX A5500)

Dell Precision 7670 (UHD, Core i7-12850HX, RTX A2000)

HP ZBook 17 Fury G8 (UHD, Nvidia RTX A5000)

M&E

3.7

2.93

2.71

ProdDev

4.18

3.66

2.86

LifeSci

3.83

3.02

2.68

FSI

3.75

2.88

1.76

Energy

4.56

3.58

2.28

GeneralOps

2.93

2.19

2.22

GPU Compute

5.5

3.32

5.14

 

ESRI

 
ต่อมาคือเกณฑ์มาตรฐานโดยสถาบันวิจัยระบบสิ่งแวดล้อม หรือ ESRI ซึ่งเป็นผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ GIS โดยทีมประสิทธิภาพของ ESRI ออกแบบสคริปต์แอดอิน PerfTool ของตัวเองมาเพื่อเปิดการทำงานของ ArcGIS Pro โดยอัตโนมัติ แอปพลิเคชันนี้ใช้ฟังก์ชัน "ZoomToBookmarks" เพื่อเรียกดูบุ๊กมาร์กที่ตั้งค่าล่วงหน้าไว้แล้ว และสร้างไฟล์บันทึกที่มีข้อมูลสำคัญทั้งหมดในการคาดการณ์ประสบการณ์ของผู้ใช้ สคริปต์จะวนบุ๊กมาร์กซ้ำสามครั้งโดยอัตโนมัติเพื่อพิจารณาการใช้งานแคช (หน่วยความจำและดิสก์แคช) หรือก็คือเกณฑ์มาตรฐานนี้จำลองการใช้งานกราฟิกจำนวนมากที่เห็นได้ในการใช้ซอฟต์แวร์ ArcGIS Pro ของ ESRI นั่นเอง
 
การทดสอบนี้ใช้ชุดข้อมูลหลักสามชุด สองชุดแรกเป็นทิวทัศน์เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย และเมืองมอนทรีออล รัฐควิเบกในแบบสามมิติ ทิวทัศน์เมืองเหล่านี้ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างแบบมัลติแพตช์สามมิติที่มีพื้นผิวแบบจำลองภูมิประเทศและภาพถ่ายทางอากาศ ส่วนชุดข้อมูลที่สามคือมุมมองแผนที่สองมิติของภูมิภาคพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน ข้อมูลชุดนี้ประกอบด้วยข้อมูลละเอียด ของส่วนถนน แปลงที่ดิน สวนสาธารณะและโรงเรียน แม่น้ำ ทะเลสาบ และภูมิประเทศที่มีร่มเงาบนเนินเขา เนื่องจากการทดสอบนี้เน้น GPU เป็นหลัก ThinkPad P16 Gen 1 จึงทำได้ดี แม้ว่าจะไม่โดดเด่นอะไรขนาดนั้น
 

Luxmark

 
เกณฑ์การทดสอบสามมิติอีกตัวที่เราใช้คือ LuxMark ซึ่งเป็นเกณฑ์การวัดประสิทธิภาพ OpenCL GPU ส่งผลให้ ThinkPad P16 Gen 1 กลับมาครองแชมป์อีกครั้ง
 

LuxMark (Higher is better)

Category

Lenovo ThinkPad P16 Gen 1 (UHD, Core i9-12950HX, RTX A5500)

Dell Precision 7670 (UHD, Core i7-12850HX, RTX A2000)

HP ZBook 17 Fury G8 (UHD, Nvidia RTX A5000)

hallbench

15516

7510

12408

food

5716

2735

4781

 

OctaneBench

 
ต่อไป เรามาดูเกณฑ์มาตรฐานการทดสอบของ OctaneBench สำหรับ OctaneRender ซึ่งเป็นตัวเรนเดอร์สามมิติอีกตัวที่รองรับ RTX ซึ่งคล้ายกับ V-Ray เราไม่ได้ดำเนินการทดสอบนี้กับ ZBook 17 Fury G8 เลยมีผลการทดสอบสำหรับ ThinkPad P16 Gen 1 และ Dell Precision 7670 เท่านั้น โดย ThinkPad ได้คะแนนนำในส่วนการทดสอบ GPU เป็นไปตามคาด
 

Blender OptiX

 
เกณฑ์ต่อมาคือ Blender ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสร้างแบบจำลองสามมิติแบบโอเพ่นซอร์ส เกณฑ์มาตรฐานนี้รันโดยการวัดการใช้งาน blender เป็นฐาน โดยเลือกใช้ NVIDIA OptiX เป็นวิธีเรนเดอร์ คะแนนวัดที่มีหน่วยเป็นตัวอย่างต่อนาที ยิ่งสูงยิ่งดี แล้วก็ตามเคยคือเราไม่มีผลลัพธ์สำหรับ HP และในจุดนี้ ThinkPad P16 Gen 1 ยังคงทำงานได้อย่างดีเยี่ยม
 

ข้อสรุป

 
ThinkPad P16 Gen 1 ของ Lenovo นับเป็นเวิร์กสเตชันพกพาความสามารถสูงและทรงพลัง ในระดับที่สามารถรับมือกับการใช้งานที่เปลืองพลังงานที่สุดสำหรับเวิร์กสเตชันได้ เช่น การเรนเดอร์และการตัดต่อวิดีโอ 8K ซึ่งผ่านเกณฑ์การทดสอบมาตรฐานของเราด้วยคะแนนที่ดีที่สุดในหมู่แล็ปท็อประดับเดียวกัน

ThinkPad P16 Gen 1 ยังมีสิ่งที่น่าสนใจมากมายนอกเหนือจากประสิทธิภาพการใช้งาน รวมถึงอุปกรณ์อินพุตที่สะดวกสบาย พอร์ตที่มีให้มากมาย สาย WWAN ที่ใช้งานได้ดี และแม้แต่ลำโพงที่มีประสิทธิภาพไม่แพ้กัน การแสดงผลที่น่าประทับใจของ Lenovo ซึ่งรวมถึงหน้าจอ UHD ที่สว่างเป็นพิเศษสำหรับตัวที่เราใช้รีวิวนี้ และหน้าจอ OLED ที่เหมาะสำหรับงานที่ไวต่อสี

เรายังประทับใจกับฟีเจอร์รักษาความปลอดภัยระดับ enterprise รวมถึงการรองรับ Intel vPro Enterprise โดยภาพรวมแล้ว ThinkPad P16 Gen 1 เป็นแล็ปท็อปอีกตัวหนึ่งที่เราขอแนะนำ หากคุณต้องการเวิร์กสเตชันพกพาระดับไฮเอนด์

ที่มา: 
https://bit.ly/3GUSEsN
สนใจสั่งซื้อสินค้า Lenovo ThinkPad P16 คลิกที่นี่ https://www.quickserv.co.th/workstation/LENOVO/Mobile-Workstation-:-Core-I7/Lenovo-ThinkPad-P16-G1.html

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์