ประธานบริษัทของ Google ได้กล่าวว่า “มันถึงเวลาที่ต้องควบคุม AI เสียที”
Please wait...
SOLUTIONS CORNER
ประธานบริษัทของ Google ได้กล่าวว่า “มันถึงเวลาที่ต้องควบคุม AI เสียที”

ประธานบริษัทของ Google ได้กล่าวว่า “มันถึงเวลาที่ต้องควบคุม AI เสียที”



ศุนทัร ปิจไชให้เหตุผลว่ามันจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการป้องกันที่ดีในยุคแอพลิเคชั่น Deepfakes และระบบจดจำใบหน้าที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย


ศุนทัร ปิจไช ประธานบริหารของบริษัท Google and Alphabet ได้เรียกร้องให้มีการควบคุมการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดและการแพร่กระจายข้อมูลผิดๆ
แม้ว่าการทำงานของ AI จะเป็นไปในทางที่ดีและมีประโยชน์อย่างมาก แต่ความเห็นล่าสุดของคุณปิจไชที่ตีพิมพ์ในไฟแนนเชียลไทมส์ ก็ได้แย้งว่า ทีผ่านมานั้นเต็มไปด้วยตัวอย่างความผิดพลาดทางเทคโนโลยีที่เราควรนำมาเป็นข้อควรระวังในการใช้ในปัจจุบันและอนาคต


"อินเทอร์เน็ตทำให้เราสามารถเชื่อมต่อกับใครก็ได้และรับข้อมูลจากที่ใดก็ได้ แต่มันก็ง่ายต่อการกระจายข้อมูลผิดๆด้วยเช่นกัน"
คุณปิจไชกล่าว
เขากล่าวเพิ่มเติมว่า มันชัดเจนว่าบทเรียนที่ผ่านมานั้น เทคโนโลยีอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้อีกแน่นอน โดยที่เขาชี้ให้เห็นถึงเรื่อง "ความน่ากังวลที่แท้จริงเกี่ยวกับผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นจาก AI" รวมถึงแอพลิเคชั่น Deepfakes และระบบการจดจำใบหน้า ซึ่งเขาเชื่อว่าภาครัฐไม่ควรปล่อยให้ผู้ใช้ตัดสินใจเองว่าจะนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้อย่างไร


“ผมไม่มีคำถามในหัวเลยว่าปัญญาประดิษฐ์นั้นจำเป็นต้องได้รับการควบคุมหรือไม่ เพราะจริงๆแล้วเรื่องนี้มันมีความสำคัญมากเกินกว่าที่เราจะปล่อยปะละเลยกับมันได้ แต่ผมมีเพียงคำถามเดียวเลยก็คือเราจะริเริ่มมันได้อย่างไร”

คุณปิจไชยังได้กล่าวถึงหลักการ AI ของ Google ซึ่งชี้ว่า AI ควรถูกใช้เพื่อประโยชน์ทางสังคมในการหลีกเลี่ยงอคติ การสร้างความปลอดภัยและความรับผิดชอบ เพื่อให้ผู้คนคงอยู่ในหลักวิทยาศาสตร์และรวมถึงความเป็นส่วนตัวที่สามารถออกแบบเอง ตลอดจนถึงความพยายามในการพัฒนาเครื่องมือสำหรับทดสอบ AI อีกด้วย

อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าหลักการ AI ของ Google และคณะกรรมการจริยธรรมด้าน AI ได้ก่อตั้งขึ้นหลังจากมีผลสะท้อนกลับอย่างรุนแรงจากกลุ่มความเป็นส่วนตัวและพนักงานบริษัทของตัวเองหลังจาก Google ลงนามข้อตกลงกับ Pentagon เพื่อใช้ AI ในการวิเคราะห์ภาพจากโดรนหนึ่งปีให้หลัง และต่อมา Google ได้ปฏิเสธที่จะต่ออายุสัญญาดังกล่าวและแจ้งว่าจะไม่ใช้ AI ในการสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์ แต่จะยังคงทำงานร่วมกับกองทัพต่อไป

แนวทางภายในหน่วยงานเพียงอย่างเดียวคงไม่พอ คุณปิจไชยอมรับว่าเขาเรียกร้องให้รัฐบาลออกข้อบังคับการใช้งาน AI โดยชี้ให้เห็นว่า GDPR หรือกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรปสามารถทำหน้าที่เป็น "รากฐานที่แข็งแกร่ง" เพื่อพัฒนากรอบการทำงานแบบใหม่ให้แก่ AI
"ข้อบังคับจะสามารถเป็นแนวทางในการใช้งาน AI ได้อย่างกว้างขวางในขณะที่ภาครัฐเริ่มอนุญาตให้มีการปรับใช้ในภาคส่วนต่างๆ และสำหรับการใช้งาน AI บางประเภท เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีการควบคุม รวมถึงเครื่องช่วยตรวจหัวใจโดย AI กรอบการทำงานที่มีอยู่นั้นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่สำหรับพื้นที่การทำงานแบบใหม่ เช่น ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยตนเอง รัฐบาลจะต้องกำหนดข้อบังคับใหม่ที่เหมาะสมโดยพิจารณาถึงต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด” ปิจไชกล่าว

ในขณะที่ Google กำลังเรียกร้องให้มีการควบคุมการใช้ AI แต่พวกเขาเองกกลับมีข้อพิพาทกับฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐบาลเช่นกัน เพราะอันที่จริงถึงแม้ว่าปัจไชจะชูการใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (GDPR) แต่ Google เองกลับถูกลงโทษให้จ่ายค่าปรับเนื่องจากละเมิดกฎการคุ้มครองข้อมูล และในปี 2561 บริษัทได้ก้าวล้ำบริษัทเทคโนโลยีอื่นๆ ในการวิ่งเต้นรัฐบาล แม้จะมีผู้นำเทคโนโลยีรายอื่นหลายรายกำหนดบันทึกการใช้จ่ายในปีนั้นแล้วก็ตาม

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์