เป็นไปได้! ที่พื้นที่จัดเก็บข้อมูลจะมีขนาดเล็กกว่า DNA
Please wait...
SOLUTIONS CORNER
เป็นไปได้! ที่พื้นที่จัดเก็บข้อมูลจะมีขนาดเล็กกว่า DNA

เป็นไปได้!ที่พื้นที่จัดเก็บข้อมูลจะมีขนาดเล็กกว่าDNA

 
นักวิจัยได้พัฒนาพื้นที่จัดเก็บข้อมูลให้ไปไกลอีกขั้นหนึ่ง
 
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบราวน์ ได้ค้นพบวิธีจัดเก็บข้อมูลบนโมเลกุลเมทาบอลิค(metabolic) ที่มีขนาดเล็กกว่าชิ้นส่วนDNA โดยทำการจัดการโมเลกุลเลียนแบบเลข 1 และ 0 ใน รหัสฐานสอง
 
การจัดเก็บข้อมูลลงไปในชีวมวลนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ซะทีเดียว เพราะได้มีนักวิทยาศาสตร์ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการจัดเก็บข้อมูลบน DNA เมื่อไม่กี่ปีที่แล้ว แต่งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าเราสามารถจัดเก็บข้อมูลได้ในระดับที่เล็กกว่ามาก การจัดเก็บข้อมูลในชิ้นส่วนที่เล็กมากๆนั้น ก่อให้เกิดประโยชน์มากมายแก่อุตสาหกรรมไอที เริ่มโดยทำให้การแฮ็คข้อมูลนั้นเป็นเรื่องที่ยากขึ้น ซึ่งนั่นก็หมายความว่าจะเป็นการดีต่อข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนที่มีความเสี่ยงในคลาวด์
 
มากไปกว่านั้นการเก็บข้อมูลลงไปในชีวมวลยังมีประโยชน์เมื่อเจออุณหภูมิที่เลวร้ายหรือสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี ที่ที่การจัดเก็บข้อมูลลงไปในคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์แบบเก่าไม่สามารถทนต่อสภาพแบบนั้นได้ โดยเฉพาะกับการเก็บข้อมูลใน DNA ที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นร้อยๆปีหากเก็บไว้ในสภาพที่เหมาะสม
 
นักวิจัยเผยถึงความเป็นไปได้ในการเก็บข้อมูลในโมเลกุลโดยใช้สารละลายที่ประกอบไปด้วยน้ำตาล กรดอะมิโน และโมเลกุลขนาดเล็กอื่นๆ หรือที่รู้จักกันว่าเป็นเมแทบอไลต์ทั่วไป ที่ใช้ในการย่อยอาหารของสิ่งมีชีวิต การใช้สารละลายนี้ หุ่นยนต์จะจัดวางของเหลวจำนวน 1,024 จุด ลงบนถาด ซึ่งในแต่ละจุด 6 เมแทบอไลต์จะแสดงให้เห็นหรืออาจขาดหายไป การมีอยู่หรือขาดหายไปของเมแทบอไลต์(metabolites) จะถูกนำไปแปลเป็น เลข 1 และ 0 ในข้อมูลรหัสฐานสอง ซึ่งมากพอต่อการถอดรหัสภาพจำนวน 6,142 พิกเซล (ภาพขนาดเล็ก)
 
นักวิจัยสามารถดึงข้อมูลที่มีความถูกต้องได้ถึง 99% แต่ถึงกระนั้น พวกเขาก็ได้ยอมรับว่าการเก็บข้อมูลใน DNA ก็ยังเหนือกว่าสำหรับการแปลรหัสชุดข้อมูลที่มีขนาดใหญ่กว่า อีกทั้งวิธีการเก็บข้อมูลในโมเลกุลขนาดเล็ก ก็ยังช้ากว่าคอมพิวเตอร์แบบเดิม แต่ถึงอย่างไรมันก็ยังมีประโยชน์บางอย่างที่เหนือกว่า DNA เช่นกัน
 

Jacob Rosenstein หัวหน้านักวิจัยของ New Scientist กล่าวว่า..

“เมื่อเทียบกับการเก็บข้อมูลใน DNA การเก็บข้อมูลในเมแทบอไลต์ของพวกเรามีความหน่วงที่น้อยกว่า ทำให้สามารถเขียนและอ่านชุดข้อมูลได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นจนจบ” “ความคิดนี้พร้อมแล้วที่จะนำไปใช้ในห้องปฏิบัติการวิจัยแต่พวกเราต้องการที่จะทำสิ่งต่างๆให้เร็วขึ้นและลดขนาดของฮาร์ดแวร์ส่วนวิเคราะห์ลง ก่อนที่จะนำไปใช้จริงนอกห้องปฏิบัติการ”เราคาดว่าอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลใน DNA จะถูกนำไปวางขายเชิงพานิชย์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าตามคำกล่าวของCatalog บริษัทเกิดใหม่ภายใต้ Harvard Life Labทางบริษัทเผยว่าอุปกรณ์ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้กว่า 1TB ใน DNA หนึ่งเม็ด ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2019โดยพวกเราจะได้เห็นอุปกรณ์เหล่านี้วางจำหน่ายภายในปี 2021
 
ล่าสุดทางบริษัทยังได้เปิดเผยอีกว่า พวกเขาประสบความสำเร็จในการดึงข้อมูลทั้งหมดของ Wikipediaที่มีอยู่ 16GBมาอยู่ใน DNA หนึ่งเม็ดได้
 
นอกจากนี้ เป็นที่โด่งดังว่านักศึกษาปริญญาเอกได้เข้าร่วมการแข่งถอดรหัสBitcoin ที่มีมานานกว่าสามปีและใช้เวลาเพียงแค่สามวันในการถอดรหัส โดยใช้ DNA เพื่อถอดรหัสไฟล์ ซึ่งทำให้เขาสามารถรู้รหัสของบัญชี Bitcoinหนึ่ง ซึ่งก็คือเงินรางวัลที่เขาจะได้รับนั่นเอง และรางวัลนี้เป็นรางวัลที่เริ่มต้นในปี 2015โดยNick Goldman หลังจากที่เขาได้เอ่ยถึงความเป็นไปได้ในการเก็บข้อมูลในDNA ที่งาน World Economic Forum
 
เนื่องด้วยเทคโนโลยีนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น การใช้งานจริง จึงยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ก็ได้มีการเก็งกำไรไว้แล้ว ถึงแม้ว่าการจัดเก็บข้อมูลลงในDNA และเมแทบอไลต์จะมีประโยชน์ อย่างเช่น ไม่เสี่ยงต่อการถูกแฮก แต่การโจมตีทางกายภาพนั้นก็ยังเกิดขึ้นได้อยู่ ซึ่งนั่นก็หมายความว่ามันก็ไม่ได้สามารถป้องกันข้อมูลขนาดที่จะไม่มีปัญหาที่ตามมาได้

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์