คุณค่าที่แท้จริง : Internet of Things ในภาคอุตสาหกรรม
Please wait...
COMMERCIAL IT UPDATE
คุณค่าที่แท้จริง : Internet of Things ในภาคอุตสาหกรรม
 
ทุกวันนี้ ความลึกลับ ที่ล้อมรอบ Internet of Things (IoT) เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ เริ่มค่อย ๆ กระจายไปทั่ว เนื่องจากสินค้าบริโภคและสินค้าภาคอุตสาหกรรมผสานเชื่อมโยงกันมากขึ้น

Image source


แม้ว่าความหมายของ IoT อาจเป็นที่รู้จักกันดีแล้ว ความเกี่ยวข้องในอนาคตที่เชื่อมต่อกันดูเหมือนว่ายังไม่ชัดเจนนัก อย่างไรก็ตาม ประเด็นของการเชื่อมต่อเหล่านี้คืออะไรกันแน่หากมันไม่ได้สร้างคุณค่า? ทำไมลูกค้าจึงควรสนใจ IoT ในภาคอุตสาหกรรม? ความจริงก็คือ เมื่อผลิตภัณฑ์ของตนมีความสามารถในการเชื่อมต่อ ผู้ผลิตและบุคคลที่สามสามารถจะส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าได้มากขึ้น ดีกว่าเพียงแค่การขายผลิตภัณฑ์ที่ให้บริการโซลูชั่นและบริการต่าง ๆ มากมายเท่านั้น
 
มีแอพพลิเคชั่นเชื่อมต่อ

ผู้ผลิตที่มีความชัดเจนหลายรายสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ของตนให้เชื่อมต่อผ่านแอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถเชื่อมต่อจากระยะไกล ควบคุม และติดตามผลิตภัณฑ์ของพวกเขาได้ นอกจากนี้ยังจัดเตรียมอินเทอร์เฟซโปรแกรมแอพพลิเคชัน (Application Programming Interfaces, API) ทำให้บุคคลที่สามสามารถพัฒนาเชื่อมต่อเข้ากับผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเพิ่มเติมได้ การทำเช่นนี้ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ไม่เพียงแค่จัดเตรียมฟังก์ชันการทำงานใหม่ ๆ เท่านั้น แต่ยังมีวิธีการใหม่ ๆ ในการสื่อสารกับผลิตภัณฑ์ด้วย
 
คุณค่าลักษณะนี้เจอทั่วไปในระบบรักษาความปลอดภัยและอุปกรณ์เสริมภายในบ้าน แต่ก็สามารถประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมในรูปแบบของ IoT ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น Premier Deicers ผู้จัดหาของรัฐวิสคอนซินด้านอุปกรณ์การซ่อมอากาศยาน บริษัทเจ้าของระบบ Guardian Angel Monitoring System ช่วยให้สามารถเข้าถึงจากระยะไกล ได้ถึง 29 ฟังก์ชันทำงานในการละลายหิมะ ไม่ว่าจะเป็นฟังก์ชันแรงดันของเหลวไปจนถึงฟังก์ชันในอุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนต่าง ๆ ลูกค้าสามารถเข้าถึงฟังก์ชันที่เหมาะสมแบบเรียลไทม์เพื่อละลายหิมะจากทุกที่ที่มีอินเทอร์เน็ตเข้าถึง
 
สามารถอัพเกรดได้

แม้ว่ามีคุณค่าที่แท้จริงด้านความสามารถในการติดตามและควบคุมสินค้าจากระยะไกล แต่ผู้ผลิตสามารถก้าวไปอีกขั้นหนึ่งด้วยการให้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นของลูกค้าสามารถอัพเกรดได้ การอัพเกรดที่ดีขึ้นกว่าเดิมผ่านทางซอฟต์แวร์ และการอัพเดทจะใช้งานได้ดีขึ้นตรงตามที่ผู้ผลิตปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม และการจัดการกับปัญหาด้านซอฟต์แวร์ทำได้ดีกว่าด้านฮาร์ดแวร์
 
ตัวอย่างที่ชัดเจนในเรื่องรูปแบบของการอัพเกรดคือ กรณีของ Tesla บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าจัดเตรียมการอัพเดทแบบ Over-The-Air (OTA) สำหรับรถยนต์รุ่น Model S มานานหลายปีแล้ว และปัจจุบันเพิ่งเปิดตัวอัพเดทด้วยระบบ Autopilot
ปรับใช้งานแบบไร้สายให้กับรถยนต์ Model S ทุกรุ่นในสหรัฐอเมริกาตลอดทั้งสัปดาห์ การปรับปรุงหลักให้กับรถยนต์แต่ละคันในด้านการควบคุมเครื่องเอง ระบบช่วยขับอัตโนมัติ ที่ยังคงต้องการการควบคุมที่ดีที่สุดของมนุษย์ (ณ ปัจจุบัน)

Image source

มอบสินค้าและบริการเกินความคาดหมาย

ผู้ผลิตยังสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์โดยนำเสนอบริการที่พ่วงมาด้วย บริการเหล่านี้ใช้ประโยชน์จากแคชขนาดใหญ่ของข้อมูลที่สร้างจากผลิตภัณฑ์ IoT เมื่อผสานเข้ากับเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว บริการเหล่านี้จะกลายเป็น "สูตรลับ" ที่ช่วยให้ผู้ผลิตรายหนึ่งสามารถแข่งขันได้
 
ด้วยการติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลที่มาจากผลิตภัณฑ์ของตนอย่างต่อเนื่อง ผู้ผลิตสามารถสรุปข้อมูลเชิงลึกจากอดีตและคาดการณ์ไปข้างหน้าได้ ยกตัวอย่างเช่น ในภาพด้านบนผู้ผลิตรายหนึ่งตรวจพบการใช้พลังงานที่สูงเกินไปภายใต้เงื่อนไขบางอย่างแล้วค้นหาวิธีปรับปรุงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ให้ก้าวหน้าขึ้น ผู้ผลิตรายอื่นอาจจะอธิบายถึงสาเหตุที่ชิ้นส่วนบางรายการทำงานผิดพลาดบ่อยครั้งและชี้ช่องทางปรับปรุงออกแบบเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว
ยิ่งกว่านั้น ผู้ผลิตสามารถตรวจพบชิ้นส่วนที่กำลังจะหยุดชะงักและกำหนดเวลาซ่อมบำรุงแทนก่อนที่มันจะพังลงเสียก่อน ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าประหยัดงบประมาณ บริการเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในวงการอุตสาหกรรมเรียกว่า การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance) ดังแสดงในภาพด้างล่าง
 
แต่แนวคิดของบริการที่พ่วงมากับผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อกันไม่ควรหยุดลงที่ผลิตภัณฑ์แต่ละรายการเท่านั้น สิ่งใดเกี่ยวข้องกับบริการจัดเตรียมระดับขั้นต้นของระบบที่ผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตหลายรายเชื่อมต่ออยู่? ในสถานการณ์นั้น ผู้ผลิตหรือผู้บูรณาการรวมระบบจากบุคคลที่สามสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบ และปรับพารามิเตอร์และพฤติกรรมของระบบโดยรวมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้เหมาะสมได้ ระบบอาจรวมถึงอุปกรณ์ที่คล้ายกัน เช่น  รถบรรทุกละลายหิมะ หรืออุปกรณ์ที่แตกต่างกัน เช่น โรงงานอัจฉริยะ อาคารอัจฉริยะ หรือห่วงโซ่อุปทานอัจฉริยะ ตัวอย่างเช่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลสามารถตรวจสอบถังน้ำมันเชื้อเพลิงที่อยู่ใกล้ ๆ แล้วส่งรถบรรทุกที่มีการติดตามด้วย GPS เพื่อดึงน้ำมันเชื้อเพลิงและนำส่งโดยอัตโนมัติ
 
เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ สิ่งที่น่าสนใจการให้บริการพร้อมใช้งานที่พ่วงมากับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถเชื่อมต่อคือ ช่วยให้ผู้ผลิตจัดสร้างระบบธุรกิจรูปแบบใหม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจรูปแบบดั้งเดิมจ่ายค่าผลิตภัณฑ์ในขั้นแรกและจ่ายอีกบางส่วนเพิ่มเติมตามความจำเป็นในภายหลัง
 
ธุรกิจรูปแบบที่ซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม ลูกค้าจะจ่ายค่าการบำรุงรักษาเชิงรุก (Proactive Maintenance Service) ในสถานการณ์เช่นนี้ผู้ผลิตจะติดตามผลิตภัณฑ์ที่ไซต์งานลูกค้าจากระยะไกล ดึงข้อมูลเชิงลึกทำให้ทราบว่าเมื่อไหร่ผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องบำรุงรักษา รวมทั้งตารางเวลาและการดำเนินการซ่อมบำรุงก่อนผลิตภัณฑ์จะหยุดชะงักลง ตามกำหนดปกติในช่วงเวลาที่กำหนด เนื่องจากการบำรุงรักษาเชิงรุกลูกค้าประหยัดค่าใช้จ่ายและหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นนอกตารางเวลาซ่อมแซม (สืบเนื่องจากผู้ผลิตคาดว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติจึงมีแรงจูงใจออกแบบผลิตภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือมากขึ้น) ยังรวมถึงการอัพเกรดอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ผลิตภัณฑ์ทำงานดีกว่าเดิม
 
การใช้แนวคิดนี้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งคือ ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบการให้บริการทางอินเทอร์เน็ต (product-as-a-service model, PaaS) ในกรณีนี้ลูกค้าไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าผลิตภัณฑ์หรือองค์ประกอบต่าง ๆ เพิ่มเติม แต่จ่ายค่าผลิตภัณฑ์ด้วยการ “จ่ายเป็นประจำ” และจ่ายเป็นจำนวนเงินคงที่ตามตกลงที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เช่น รายเดือน รายปี หรือรายไตรมาส การให้บริการ รูปแบบ PaaS ให้ความสำคัญกับผู้ผลิตช่วยให้ผลิตภัณฑ์ของพวกเขาใช้งานได้ มิฉะนั้นพวกเขาจะไม่ได้รับเงิน
 
เมื่อ IoT เข้ารุกล้ำเข้ามาในชีวิตประจำวันมากขึ้น คุณค่าในระบบนิเวศที่เชื่อมต่อและข้อมูลเชิงลึกต่าง ๆ จะชัดเจนยิ่งขึ้น คาดว่าราว ๆ ปี 2020 อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งในภาคอุตสาหกรรม (IIoT) จะเติบโตถึง 16 เปอร์เซ็นต์ของ GDP และผู้ผลิตจะใช้จ่ายกว่า 500 พันล้านเหรียญ และให้ผลตอบแทนในการลงทุน (ROI) มากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญ นั่นคือคุณค่าที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
 
ที่มา: www.autodesk.com

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์