Please wait...
SOLUTIONS CORNER
การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ในยุคดิจิตอล ด้วยระบบ CRM

การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ในยุคดิจิตอล ด้วยระบบ CRM (Customer Relationship Management)

 

เรากำลังจะพูดถึงความสำคัญและประโยชน์ที่องค์กรธุรกิจจะได้รับจากแพลตฟอร์มการเก็บข้อมูลลูกค้าที่มีการติดต่อกับบริษัท (Customer-Facing)
 
ระบบการบริหารจัดการความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรธุรกิจกับลูกค้าหรือ CRM (Customer Relationship Management) เป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับธุรกิจทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าและบริการให้กับลูกค้าโดยตรงหรือจะเป็นการขายผ่านพันธมิตรก็ตาม
 
อย่างไรก็ตามเครื่องมือสำหรับบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) นั้น และผู้ใช้งานส่วนใหญ่ก็ยังสับสนกับการใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าว โดยในส่วนของผู้นำด้านซอฟต์แวร์ ตลอดจน SAP และ Oracle ก็ได้จัดให้มีบริการแพลตฟอร์มสำหรับคนที่ต้องการจะติดตามดูว่าพวกเขากำลังขายสินค้าและบริการให้กับใคร และใครที่จะเป็นผู้ซื้อ
 
แล้วอะไรคือความแตกต่างของแต่ละแพลตฟอร์ม? หรือสิ่งที่คุณควรต้องระวังนั้นมีอะไรบ้าง และองค์กรธุรกิจต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกที่มีให้ในระบบ CRM ได้อย่างไร?
 

การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) คืออะไร?

โดยสรุปแล้ว การบริหารลูกค้าสัมพันธ์หรือ CRM (Customer Relationship Management) จะช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถติดตามทุกการสื่อสารที่เกิดขึ้นกับลูกค้าและผู้ที่มีโอกาสที่จะเป็นลูกค้า (ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าเป้าหมายประเภท Cold Lead, Warm Lead หรือ Hot Lead ก็ตาม) ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่าความสัมพันธ์ของพวกเขากับลูกค้าแต่ละคนและทุกๆ คน กำลังพัฒนาไปในทิศทางใด
 
นอกจากนี้ มันยังจะต้องมีรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นชนิดของความสัมพันธ์ที่บริษัทมีต่อแต่ละบุคคล, บันทึกเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ของพวกเขาที่จะสามารถใช้เป็นตัวเริ่มต้นในบทสนทนาได้, ใครในธุรกิจที่เป็นเจ้าของความสัมพันธ์ และวิธีการที่องค์กรสามารถจะนำมาช่วยแก้ปัญหาที่ท้าทายของพวกเขาได้
 
หากข้อมูลที่บันทึกไว้มีรายละเอียดเพียงพอ มันอาจเป็นเครื่องมือทางธุรกิจที่สำคัญในการปิดการขาย และยังเป็นการให้อำนาจแก่พนักงานขาย ตลอดจนการพัฒนาธุรกิจ, ทีมการตลาดและส่วนอื่น ๆ ของบริษัท
 
โดยที่ลูกค้าส่วนใหญ่ต่างก็คาดหวังว่าจะได้รับบริการที่ปรับให้เหมาะกับพวกเขามากยิ่งขึ้น ไม่ว่าพวกเขาจะใช้บริการจากบริษัทขนาดใหญ่หรือธุรกิจขนาดเล็กก็ตาม และระบบ CRM ก็จะให้ข้อมูล (Information) และข้อมูลเชิงลึก (Insight) เพื่อที่จะช่วยให้การขายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้การสื่อสารมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้มีการขายมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย
 
 
โดยทั่วไปแล้วระบบ CRM ต้องการฐานข้อมูล (Database) และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อจัดเก็บข้อมูลของลูกค้า นอกจากนี้ มันยังสามารถครอบคลุมถึงช่องทางการสื่อสาร, การติดตาม (Track) และจัดเก็บบทสนทนาของลูกค้าด้วยเช่นกัน
 

CRM Software ทำหน้าที่อะไร?

บันทึกต่างๆ เกี่ยวกับข้อมูลของลูกค้าที่บันทึกลงบนกระดาษนั้น จัดว่าเป็นบันทึกที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุด และแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะค้นหาหรือสืบค้นข้อมูลเชิงลึกได้อย่างรวดเร็วจากบันทึกข้อมูลประเภทนี้ อย่างไรก็ดีระบบ CRM ก็ได้เข้ามามีส่วนช่วยให้การดูแลลูกค้าและให้บริการแก่พวกเขาง่ายยิ่งขึ้น เพราะด้วยสิ่งนี้ ทำให้ธุรกิจสามารถเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และยังเป็นการจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่พวกเขาจะต้องติดต่อเกี่ยวกับลูกค้าเหล่านั้น
 
มันไม่ได้มีความสามารถแค่การแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการตรวจสอบการทำธุรกรรมในอดีตของลูกค้าเท่านั้น แต่มันยังสามารถบอกได้ถึงประเภทของผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาให้ความสนใจซักถาม หรือแม้แต่โฆษณาบางตัวของคุณที่พวกเขาคลิก ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้จะถูกนำไปเก็บสะสมไว้ในข้อมูลลูกค้า (Customer Profile) เพื่อที่องค์กรธุรกิจจะสามารถนำไปใช้เพื่อปรับแต่งการติดต่อสื่อสารของพวกเขา
 
บางครั้งลูกค้าอาจจะเกิดความรู้สึกเพิกเฉยได้ หากทางบริษัทจู่โจมพวกเขาด้วยข้อความและผลิตภัณฑ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่พวกเขาให้ความสนใจ ดังนั้น การดึงข้อมูลจากการโต้ตอบกับลูกค้าจากแพลตฟอร์ม CRM จึงเป็นการช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่า ประสบการณ์ของลูกค้าแต่ละคนจะได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมเมื่อพวกเขาเข้าใช้เว็บไซต์ของทางบริษัท หรือติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า และในกรณีที่พวกเขาต้องการติดตามข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับบริษัทผ่านเว็บไซต์โซเชียลมีเดีย ก็สามารถทำได้เช่นกัน
 
จากที่เคยกล่าวไว้ว่าระบบ CRM นั้น ไม่ได้เป็นเพียงแค่ระบบที่จะช่วยให้บริษัทปรับปรุงช่องทางการขายเท่านั้น ในขณะเดียวกัน มันก็ยังจัดเตรียมการอุปกรณ์ศูนย์กลางสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ เข้าด้วยกัน (Central Hub) ไว้ให้พวกเขา เพื่อที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถจัดการกับกระบวนการต่างๆ ได้ทั่วทั้งองค์กร นอกจากนี้ระบบ CRM ที่มีให้บริการอยู่มากมายนั้น ยังช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถจัดการกับทรัพยากรมนุษย์, การตลาด, การเงินและการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น SAP ที่ให้บริการซอฟต์แวร์ที่ได้ทำการรวบรวมแผนกต่างๆ ของธุรกิจ เข้าไว้ด้วยกัน
 
แนวคิดหลักก็คือ ด้วยบริการ CRM จะช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดภายในบริษัท มีพื้นที่ที่พวกเขาสามารถเข้าถึงข้อมูลลูกค้าของพวกเขาได้ และผลที่ตามมาก็คือ พวกเขาสามารถทำให้ลูกค้าเป็นหัวใจของการทำงานของพวกเขา ซึ่งโดยรวมแล้วจะช่วยให้พวกเขามอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับลูกค้า นอกจากนี้ บริการเหล่านี้ก็ยังสามารถอำนวยความสะดวกในการขายสินค้าหรือบริการแบบ Up-Selling และ Cross-Selling ได้อีกด้วย
 
ในกรณีที่ไม่มีซอฟต์แวร์ CRM นั้น พนักงานก็มักจะต้องใช้เวลาที่มากขึ้นในการพยายามที่จะสร้างโอกาสในการขายให้กับธุรกิจ, ปิดการขาย และแม้แต่การรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรกับลูกค้า ซึ่งการลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าวบริษัทต่างๆ สามารถเร่งกระบวนการเหล่านี้ และมุ่งเน้นความสนใจของพวกเขาไปที่งานทั่วๆ ไป ที่มีความน่าเบื่อน้อยกว่า แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็ยังสามารถที่จะระบุและกำหนดลูกค้าเป้าหมายรายใหม่ๆ ได้เช่นกัน โดยซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่จะทำงานร่วมกับบริการของบุคคลที่สาม ไม่ว่าจะเป็น MailChimp และ Google Apps เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
 

ข้อดีและข้อเสียของการใช้ซอฟต์แวร์ CRM

ข้อดี

องค์กรธุรกิจต่างๆ สามารถรับประโยชน์จากระบบ CRM ได้หลากหลายวิธี ด้วยหนึ่งในเหตุผลหลักสำหรับการนำไปใช้เป็นในการปรับปรุงความสัมพันธ์กับลูกค้านั่นก็คือ การใช้เครื่องมือที่แพลตฟอร์ม CRM นำเสนอให้นั้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกมีคุณค่าและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับองค์กรของคุณมากยิ่งขึ้น ซึ่งต่อจากนั้น ก็จะช่วยเพิ่มความจงรักภักดีต่อสินค้าและบริการขององค์กร ตามลำดับ
 
นอกจากนี้ การรักษาความพึงพอใจของลูกค้าในเชิงบวกก็ยังช่วยเพิ่มรายได้และดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบ CRM นั้น สามารถทำเช่นนี้ได้โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากบันทึกการขายที่มีอยู่ เพื่อสร้างแนวโน้มและยังทำให้ง่ายต่อการกำหนดเป้าหมายของลูกค้าใหม่
 
ขณะนี้แม้จะยังไม่พบรายงานเกี่ยวกับข้อเสียของแพลตฟอร์มเหล่านี้ แต่อย่างไรก็ตาม องค์กรธุรกิจที่คิดจะนำมันมาใช้ก็ยังคงต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ อาทิเช่น เจ้าหน้าที่ที่ฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการใช้พวกมัน นอกจากนี้ บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานขายภายในธุรกิจของคุณก็อาจจะต่อต้านการพยายามใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ หากพวกเขารู้สึกว่าคุณค่าของพวกเขาถูกคุกคาม หรืออาจจะคิดว่าไม่มีความความจำเป็นที่จะต้องใช้มัน ทั้งนี้ด้วยโครงสร้างทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ ก็อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะทำลายความคิดเหล่านี้ ซึ่งส่วนหนึ่งนั้นมีผลต่อกระบวนการดำเนินการ
 

ข้อเสีย

ข้อเสียอื่นๆ ที่อาจเป็นไปได้นั่นก็คือ ระบบจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อข้อมูลที่ถูกป้อนเข้ามานั้น "ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน" การทำให้มั่นใจว่าพนักงานจะปฏิบัติตามความรับผิดชอบเหล่านี้อย่างจริงจัง จึงเป็นกุญแจสำคัญในการคงไว้ซึ่งระบบ CRM ที่ธุรกิจของจะต้องคุณดำเนินการ เพราะแม้แต่แพลตฟอร์มที่มีเทคนิคที่ดีที่สุดก็มีโอกาสล้มเหลวได้ หากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ดังนั้นการตรวจสอบให้แน่ใจว่าธุรกิจของคุณไม่เพียงแต่จะต้องผ่านการใช้งานทางด้านเทคนิคเท่านั้น หากแต่ยังต้องมีการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาและวัฒนธรรม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้แน่ใจว่าการใช้งานระบบ CRM ขององค์กรจะไม่จบลงเพราะความล้มเหลว

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์
Server
Hyper converged
Storage
UPS
Networking
PC
All in one
Notebook
Monitor
Printer
Hosting
Google cloud
AWS
Microsoft Azure
SSL